ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ทัศนคติ และอิทธิพลทางสังคมทํานายความตั้งใจในการใช้งานแอปพลิเคชันโรงพยาบาลภาครัฐ

Main Article Content

วิภัทร เลิศภูรีวงศ์
วิกานดา พรสกุลวานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยีในการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย การรับรู้ความเสี่ยง ทัศนคติต่อการใช้งานและอิทธิพลทางสังคมต่อความตั้งใจในการใช้งานของผู้ใช้บริการที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งสามารถตัดสินใจเข้าถึงการบริการด้านการรักษาพยาบาลและสุขภาพและรู้จักแอปพลิเคชันโรงพยาบาลภาครัฐ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างทางประชากรศาสตร์ (เพศ อายุ และระดับการศึกษา) จะมีการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย และการรับรู้ความเสี่ยงแตกต่างกัน นอกจากนี้การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความง่ายทำนายทัศนคติต่อการใช้งาน โดยมีอิทธิพลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนทัศนคติต่อการใช้งานทำนายความตั้งใจในการใช้งานแอปพลิเคชันโรงพยาบาลภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญในเชิงบวก อิทธิพลทางสังคมทำนายปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยี (การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย และการรับรู้ความเสี่ยง) และความตั้งใจในการใช้งานแอปพลิเคชันโรงพยาบาลภาครัฐ โดยมีอิทธิพลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สำรวจมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2564 (ไตรมาส 3). http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2563. http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8840

กิติมา สุรสนธิ. (2544). ความรู้ทางการสื่อสาร. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ขนิษฐา เลิศวัฒนชัยกุล. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ food delivery ผ่านแอปพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:174065

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2564). สถิติ_SirirajConnect_ส่งให้นักศึกษาป.โท. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์

เดชพงศ์ นาคเสวี. (2557). การประเมินผลการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลของศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). คลังสารสนเทศดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Creator/personDc/87061

ธนพร ทองจูด. (2564). การศึกษาปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล). คลังฐานข้อมูลวิทยาลัยการจัดการของมหาวิทยาลัยมหิดล. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4198

พัชราวดี เลิศปัญญาพล. (2563). ความตั้งใจในการใช้บริการแอปพลิเคชันโทรเวชกรรม (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:186081

ภัทรพร หินเจริญ. (2561). ปัจจัยการยอมรับการใช้โปรแกรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการพลเรือนในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:148491

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2564). 20220225_Chula Care_Performance_2021_sent. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์

วิกานดา พรสกุลวานิช. (2565ก). สื่อใหม่และการจัดการการสื่อสาร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิกานดา พรสกุลวานิช. (2565ข). สื่อและผลของการสื่อสารในยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:93550

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร). คลังฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยนเรศวร. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1538

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี). คลังฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/933

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2549). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อสงไขย ทยานศิลป์. (2560). ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:144258

อัจฉรา เด่นเจริญโสภณ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยบูรพา. https://webopac.lib.buu.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00261716

Chi, H., Yeh, H., & Hung, W. C. (2012). The moderating effect of subjective norm on cloud computing users’ perceived risk and usage intention. International Journal of Marketing Studies, 4(6), 95-102.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982-1003.

Kalayou, M. H., Endehabtu, B. F., & Tilahun, B. (2020). The applicability of the modified technology acceptance model (TAM) on the sustainable adoption of eHealth systems in resource-limited settings. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 13, 1827-1837.

Kim, Y., & Han, H. J. (2008). The effects of perceived risk and technology type on users’ acceptance of technologies. Information & Management, 45(1), 1-9.

Mckechnie, S., Winklhofer, H., & Ennew, C. (2006). Applying the technology acceptance model to the online retailing of financial services. International Journal of Retail & Distribution Management, 34(4/5), 388-410.

Melas, C. D., Zampetakis, L. A., Dimopoulou, A., & Moustakis, V. (2011). Modeling the acceptance of clinical information systems among hospital medical staff: An extended TAM model. Journal of Biomedical Informatics, 44(4), 553-564.

Porter, C.E., & Donthu, N. (2006). Using the technology acceptance model to explain how attitudes determine Internet usage: The role of perceived access barriers and demographics. Journal of Business Research, 59, 999-1007.

Sit, D. (2021). The ASEAN digital health landscape: An overview. https://research.hktdc.com/ en/article/ODU1NDkyNDU0

Venkatesh, V., & Davis, F. D. (2000). A theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management Science, 46(2), 186-204.

We are social. (2022). Digital 2022: Another year of bumper growth. https://wearesocial.com/uk/blog/2022/01/digital-2022-another-year-of-bumper-growth-2/

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.