จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสาร (Publication Ethics)

            วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร เพื่อให้การดำเนินงานของวารสารเกิดมีคุณภาพ อีกทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ตามหลักจริยธรรม จึงกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ดังต่อไปนี้

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties and Ethics of Authors)

  1. ผู้เขียนต้องรับรองว่า บทความที่ส่งเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารอื่น
  2. ผู้เขียนต้องรับรองว่า ไม่ได้บิดเบือนข้อมูล แก้ไข หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการบทความจริง
  4. ผู้เขียนบทความที่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องทำการอ้างอิงผลงานดังกล่าวตามรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนและต้องมีบรรณานุกรม (Reference) ท้ายบทความ
  5. ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารที่ได้กำหนดไว้
  6. ผู้เขียนบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง
  7. ข้อความที่ปรากฏภายในบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนบทความแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง
  8. ผู้เขียนบทความต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

 

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการ (Duties and Ethics of Editors)

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของบทความ ให้เป็นไปตามขอบเขต มาตรฐานของวารสาร
  2. บรรณาธิการต้องรับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร และพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ
  3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน ผู้ประเมิน และต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลได้เป็นอย่างดี
  4. บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความด้วยความเป็นธรรม ปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบทความ และผู้เขียน
  5. หากตรวจพบว่า บทความมีการคัดลอกหรือลอกเลียนแบบจากบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
  6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน หรือผู้ประเมิน และต้องไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือนำไปเป็นผลงานของตนเอง
  7. บรรณาธิการไม่ควรเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของตน

 

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Duties and Ethics of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความ พิจารณาบทความภายใต้หลักการทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบทความ และผู้เขียน
  2. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความในระยะของการประเมิน หรือจนกว่าบทความนั้นจะได้รับการเผยแพร่ในวารสารอย่างเป็นทางการ
  3. ผู้ประเมินบทความควรให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำตามหลักวิชาการที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบทความ
  4. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน
  5. ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบว่า มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น สร้างข้อมูลเท็จ และหรือ ปลอมแปลงข้อมูล