สภาพบังคับทางอาญาในพระไอยการลักษณะผัวเมียสำหรับชายชู้

Main Article Content

พนิดา ตาละคำ
อริสา ศุภากรเสถียรชัย
เชาวลิต สมพงษ์เจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบังคับทางอาญาในพระไอยการลักษณะผัวเมียสำหรับชายชู้ และ 2) เพื่อศึกษาความสำคัญของสภาพบังคับทางอาญาในพระไอยการลักษณะผัวเมียสำหรับชายชู้ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ทฤษฎีสัมพัทธ์เป็นกรอบการวิจัย ขอบเขตเนื้อหา คือ 1) พระไอยการลักษณะผัวเมีย และ 2) พระไอยการพรมศักดิ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ วิธีการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การลงโทษสำหรับชู้เป็นการลงโทษที่สอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธ์เพื่อให้โอกาสกลับตัวเป็นคดี และเป็นการป้องกันสังคมมิให้มีการกระทำความผิดซ้ำ


2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ความสำคัญของสภาพบังคับทางอาญาสะท้อนให้เห็นการลงโทษเชิงศีลธรรมในสังคมสยามเพื่อให้โอกาสผู้เป็นชู้กลับตัวเป็นคนดีมากกว่าที่จะทำลายตัวตนของผู้นั้น ส่วนการลงโทษฆ่าเป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้เพื่อรักษาเกียรติจากการดูหมิ่นซึ่งหน้าด้วยการทำชู้


องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย คือ การกำหนดโทษสำหรับชายชู้และหญิงชู้เป็นไปตามทฤษฎีสัมพัทธ์ในการกำหนดความผิดทางอาญาและโทษเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้กระทำความผิดในการให้โอกาสในการปรับตัวแก้ไขตนเอง สังคมของผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์จากลงโทษด้วยการป้องกันสังคม ส่วนในการลงโทษฆ่านั้นเป็นไปเพื่อการป้องกันเกียรติยศของชายผู้เป็นผัวในความผิดซึ่งหน้าเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติก้อง กิจการเจริญดี (บก.). (2547). 200 ปี กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2549). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จิรรัชกาลพิมพ์.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2562). ทฤษฎีการลงโทษ. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562 จาก, www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/41716_6.pdf

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พุทธศักราช 2473. (2473, 22 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 57. หน้า 399-414.

พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2559). บทลงโทษของพระภิกษุที่ปาราชิกสิกขาบท 1. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 113 - 132.

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. (2539). ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จ.ศ. 1116 เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

วรวรรณ บุญรัตน์. (2561). หญิงร้ายในประวัติศาสตร์ไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 24(3), 239-248.

วัชรินทร์ สังสีแก้ว. (2562). ข่มขืนกระทำชำเรา: อดีต ปัจจุบัน อนาคต. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/3journal/b77%20jun_4_1.pdf

สถาบันพระปกเกล้า. (2559). เริ่มต้นค่านิยม “ผัวเดียว-เมียเดียว”. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เริ่มต้นค่านิยม_“ผัวเดียว-เมียเดียว”

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2562). พระไอยการลักษณะผัวเมีย: ความไม่เท่าเทียมของหญิงชายไทยก่อน. ปฏิวัติ 2475. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://suwit-history.blogspot.com/ search/ label/กฎหมาย

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562ก). ชู้. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://dictionary.apps.royin.go.th/

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2562ข). ผจาน. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://dictionary.apps.royin.go.th/

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2562ค). เฉลว. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก https://dictionary.apps.royin.go.th/

หยุด แสงอุทัย. (2551). กฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Merriam-Webster. (2020). Monogamy. Retrieved 9 September 2019 from, https://www.merriam-webster.com/dictionary/monogamy