เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความมีประเด็นเนื้อหาสอดคล้องกับบริบทด้านอยุธยาศึกษา เน้นทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์
  • บทความที่จะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ ได้แก่ บทความทางวิชาการ (Academic Article) บทความงานวิจัย (Research Article) และบทความปริทัศน์ (Review Article) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • บทความทางวิชาการ หรือบทความงานวิจัยนั้น ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
  • ผู้นิพนธ์ อ้างอิงข้อมูล หรือรูปภาพ ที่นำมาจากผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้อง และไม่ละเมิด หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism)
  • บทความได้รับการจัดพิมพ์ ตามข้อกำหนด การจัดเตรียมต้นฉบับ และการอ้างอิง ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา
  • กรณีที่เป็นผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคน ที่อาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ที่ผู้เขียนต้องการนำผลงานไปใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ให้แนบหลักฐานรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนมาพร้อมกับต้นฉบับ

การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา Journal of Ayutthaya Studies ISSN xxxx-xxxx (Print) และ ISSN xxxx-xxxx (Online) เป็นวารสารวิชาการของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และงานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอยุธยา โดยเผยแพร่บทความทางวิชาการ (Article) บทความงานวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีประเด็นสอดคล้องกับบริบทด้านอยุธยาศึกษา ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์

วารสารมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ มกราคม–มิถุนายน และ กรกฎาคม–ธันวาคม บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขั้นแรก แล้วจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขานั้น ๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ตามเกณฑ์ที่กำหนดในลักษณะ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบ
ชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา โดยเผยแพร่ออนไลน์ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่เป็นรูปเล่ม

การจัดเตรียมต้นฉบับ

1.พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวทั้งเรื่อง รวมภาพประกอบ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ เอ 4

2.เว้นระยะขอบด้านบน และด้านซ้าย ด้านละ 1.25 นิ้ว และเว้นขอบด้านล่างและด้านขวา ด้านละ 1.0 นิ้ว ใส่หมายเลขหน้ากำกับที่มุมบนขวามือทุกหน้า

3.ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลาง ขนาดอักษร 20 พอยต์ ตัวหนา มีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษบรรทัดถัดจากชื่อเรื่อง เป็นชื่อ-นามสกุล บรรทัดต่อมาเป็นสังกัดของผู้เขียน ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จัดชิดขอบขวา ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์

4.บทคัดย่อภาษาไทย มีความยาวไม่ควรเกิน 300 คำ โดยมีใจความที่กระชับ และชัดเจน ทราบถึงภาพรวมของบทความทั้งหมด เช่น มีที่มา วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีการสรุปผลการศึกษาค้นคว้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และต้องกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นคำที่เหมาะสมที่ใช้เป็นตัวแทนเนื้อหาสำหรับการสืบค้นบทความ ไม่เกิน 5 คำ สำหรับบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ (Abstract) นั้น จะต้องมีใจความที่สอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย และมีการใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

5.หัวข้อใหญ่ จัดชิดขอบด้านซ้าย อักษรขนาด 18 พอยต์ ตัวหนา สำหรับหัวข้อรอง ให้จัดย่อหน้าปกติ อักษรขนาด 16 พอยต์ ตัวหนา และตัวอักษรปกติขนาด 16 พอยต์

6.ส่วนเนื้อหา ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบของบทความวิชาการ

องค์ประกอบบทความวิชาการ ประกอบด้วย

1) ชื่อเรื่องภาษาไทย

2) ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

3) บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ

4) บทคัดย่อภาษาอังกฤษและคำสำคัญ

5) บทนำ

6) ประเด็นต่างๆ ที่ต้องการนำเสนอ

7) สรุป

8) การอ้างอิง

องค์ประกอบของบทความวิจัย

องค์ประกอบของบทความวิจัย ประกอบด้วย

1) ชื่อเรื่องภาษาไทย

2) ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

3) บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ

4) บทคัดย่อภาษาอังกฤษและคำสำคัญ

5) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

6) วัตถุประสงค์การวิจัย

7) ระเบียบวิธีดำเนินการวิจัย

8) ผลการวิจัย

9) สรุปผลการวิจัย

10) การอภิปรายผลการวิจัย

11) ข้อเสนอแนะ

12) การอ้างอิง

7. ถ้ามีภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง และต้องมีชื่อ พร้อมแหล่งที่มาของภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง และภาพประกอบหรือแผนที่ ที่นำมาใช้ควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi

8. พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) และบรรณานุกรมท้ายบทความ ตามรูปแบบการพิมพ์อ้างอิงและบรรณานุกรม ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา และจัดเรียงตามลำดับอักษร ถ้ามีบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ต่อท้ายบรรณานุกรมภาษาไทย

 

การพิมพ์อ้างอิง

พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี)

การพิมพ์อ้างอิงจาก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการวิจัย / วิทยานิพนธ์

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/หน้า)

(รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, หน้า ๑๕)

การพิมพ์อ้างอิงจากการสัมภาษณ์

(ผู้ให้สัมภาษณ์,/ปี,/วัน/เดือน)

(รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, ๒๓ พฤษภาคม)

การพิมพ์อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น,/เว็บไซต์)

(รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, www.asi.aru.ac.th)

การพิมพ์อ้างอิงจากภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์

(ชื่อเรื่อง,/ปีที่ผลิต,/[ชนิดของวัสดุ])

(ตลาดหัวรอ, ๒๕๕๘, [ภาพถ่าย])

 

การพิมพ์บรรณานุกรม

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๗). พระนครศรีอยุธยาในความทรงจำของข้าพเจ้า. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา.

วารสาร

ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่(ฉบับที่),//หน้าที่อ้าง.

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๑). เส้นทางสังคมพหุวัฒนธรรมอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, ๑๙(๒), ๓๔ – ๓๙.

หนังสือพิมพ์

ผู้เขียน.//(ปีพิมพ์,//วัน/เดือน).//ชื่อข่าว,//ชื่อหนังสือพิมพ์,//หน้า.

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๙, ๒๕ เมษายน). เปิดงานสัมมนาอยุธยาศึกษาวิชาการ, สยามโพลล์, หน้า ๓๔.

รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์

ชื่อผู้วิจัย.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิจัย.//(รายงานผลการวิจัย).//เมืองที่พิมพ์:/สถาบัน.

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๓๕). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ตามด้วยชื่อปริญญา/สาขาวิชา,//สถาบัน.

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๗). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

การสัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์.//(ปี,//วัน/เดือน).//ตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์.//หน่วยงานของผู้ให้สัมภาษณ์.//สัมภาษณ์.

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๒, ๘ มิถุนายน). ประธานชุมชน. ชุมชนคลองท่อ. สัมภาษณ์.

แหล่งข้อมูลออนไลน์

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//ค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,//จาก/URL

รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ. ค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๕๗, จาก www. asi.aru.ac.th

ภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์

ชื่อเรื่อง.//(ปีที่ผลิต).//[ชนิดของวัสดุ].//สถานที่ผลิต:/ผู้ผลิต.

ตลาดหัวรอ. (๒๕๕๐). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา.

 

การส่งต้นฉบับบทความ

กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบทความ และส่งไฟล์ต้นฉบับบทความ  ในระบบวารสารออนไลน์ ThaiJo ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา  ส่งบทความ (tci-thaijo.org)  (สามารถเปลี่ยนเป็นเมนูภาษาไทยได้)  จากนั้นดำเนินการต่อไปนี้

๑.เริ่มการส่ง > เลือกภาษาของบทความ > เลือกประเภทของบทความ > ยอมรับ "ข้อกำหนดในการส่ง" อย่างครบถ้วน > กรอกข้อความถึงบรรณาธิการ (ถ้ามี) > Submit As ในฐานะผู้แต่ง > เลือกยอมรับที่จะให้รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล  > เลือก "บันทึกและดำเนินการต่อ"
๒.อัพโหลดไฟล์ประกอบบทความ > เลือก "ไฟล์บทความ" > ลากและวางไฟล์ที่นี่เพื่อเริ่มต้นการอัปโหลด > เลือก "ไปต่อ" > เลือก "บันทึกและดำเนินการต่อ"
๓.ลงข้อมูลรายละเอียดบทความ > ใส่ชื่อเรื่อง > ใส่บทคัดย่อ > ใส่รายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับบทความ > ใส่คำสำคัญ และเอกสารอ้างอิง > เลือก "บันทึกและดำเนินการต่อ"
๔.ยืนยันการส่งบทความ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๘ ๔๐๒๓ ๕๐๕๓ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๑ ๔๐๗