วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา คำนึงถึงความสำคัญด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงกำหนดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1) บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสาร 2) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และ 3) ผู้นิพนธ์ ได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านจริยธรรมของวารสารอย่างเคร่งครัด ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

1.บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ จะพิจารณาและตรวจสอบบทความที่ผู้นิพนธ์เสนอขอตีพิมพ์บทความในวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความ ตามนโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ของวารสารเป็นหลัก และปราศจากอคติต่อผู้นิพนธ์

2.บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ หรือผู้ประเมินบทความ ไม่ว่าด้วยประโยชน์ในเชิงธุรกิจ หรือนำไปเป็นผลงานวิชาการของตนเอง

3.บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ไม่เปิดเผยข้อมูลระหว่างผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาของการประเมินบทความ โดยจะต้องรักษาไว้เป็นความลับ

4.บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ จะพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความให้ตรงตามสาขาของบทความ

5.บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ไม่เสนอบทความเข้ามาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

1.ผู้ประเมินบทความ ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ พิจารณาบทความบนหลักการทางวิชาการ โดยปราศจากอคติส่วนตัว

2.ผู้ประเมินบทความ ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากบทความที่รับประเมิน ไม่ว่าด้วยประโยชน์ในเชิงธุรกิจ หรือนำไปเป็นผลงานวิชาการของตนเอง

3.ผู้ประเมินบทความ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วน หรือข้อมูลทั้งหมด ของบทความที่รับพิจารณาแก่บุคคลอื่น

4.ผู้ประเมินบทความ ควรรับประเมินบทความในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง โดยพิจารณาคุณภาพของบทความอย่างเข้มข้น และเสนอแนะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมอยุธยา โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ

5.หากผู้ประเมินบทความ พบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกจากผลงานของผู้อื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

1.บทความที่ผู้นิพนธ์เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารอื่น และไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

2.ผู้นิพนธ์ ต้องทำการอ้างอิงข้อมูล หรือรูปภาพ ที่นำมาจากผลงานของผู้อื่นให้ถูกต้อง ต้องไม่ละเมิด หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ซึ่งถือเป็นการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างร้ายแรง หากเกิดการฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีทางกฎหมาย ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน โดยกองบรรณาธิการวารสารมิได้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆ ของผู้นิพนธ์

3.ผู้นิพนธ์ ต้องจัดรูปแบบของบทความให้ถูกต้อง ตามรูปแบบที่ทางวารสารได้กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”

4.ผู้นิพนธ์ ต้องเคารพผลการตัดสินคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

5.ผู้นิพนธ์ ต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำบทความไปเสนอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น

6.ผู้นิพนธ์ร่วม ที่มีชื่อในบทความทุกคน จะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำบทความ หรือมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย

7.กรณีที่เป็นผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคน ที่อาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ให้แนบหลักฐานรับรอง หรือหนังสือการได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนมาพร้อมกับต้นฉบับ