ชุมชนชั้นในรอบเมืองพิษณุโลก จากแผนที่โบราณในตำราพิชัยสงครามสมัยอยุธยา

Main Article Content

ธีระวัฒน์ แสนคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบันของชุมชนโบราณชั้นในของเมืองพิษณุโลกที่ปรากฏในแผนที่โบราณในตำราพิชัยสงครามสมัยอยุธยา จากการศึกษาพบว่า แผนที่โบราณ
ในตำราพิชัยสงครามสมัยอยุธยาระบุชื่อ ตำแหน่งทิศ และระยะห่างของชุมชนชั้นในรอบเมืองพิษณุโลก จำนวน 26 แห่ง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้สามารถศึกษา สำรวจ และสืบค้นตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนโบราณดังกล่าวจากข้อมูลปัจจุบันได้ทั้งสิ้น 17 แห่ง ซึ่งชุมชนเหล่านี้ ได้จัดตั้งหรือฟื้นฟูขึ้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ต่อมาได้ถูกทิ้งร้างไปภายหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา หลายชุมชนยังปรากฏร่องรอยโบราณสถาน เช่น แหล่งโบราณสถานบ้านตาปะขาวหาย โบราณสถานบนเขาสมอแครง วัดท่าโรงตะวันตก และวัดไผ่ขอมรัตนาราม ซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ที่สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรวัฒน์ พิระสันต์. (2547). ศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. (2554). รายงานการดำเนินงานโครงการสืบค้นวัฒนธรรมลุ่มน้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. (2552). ประวัติศาสตร์เมืองชุมทาง กรณีศึกษาเมืองพิษณุโลก. ใน วารสารสมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 31: พุทธศักราช 2552, (หน้า 52-82). กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1. (2545). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2553). หัวรอ: ประวัติศาสตร์ภูมินามวิทยาของชุมชนโบราณในเมืองพิษณุโลก. ใน นพดล อินทับทิม และธีระวัฒน์ แสนคำ (บรรณาธิการ). โพธิญาณธรรมานุสรณ์: รวมเรื่องประวัติศาสตร์วัดโพธิญาณ ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. (หน้า 77-82). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2554). เมืองพิษณุโลก : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของหัวเมืองใหญ่ภายใต้โครงสร้างอำนาจรัฐแบบจารีต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา. (2506). จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บรรณาธิการ). (2527). ศรีรามเทพนคร: รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

บริษัท นอร์ทเทิร์นซัน (1935). (2546). รายงานเบื้องต้นการสำรวจและการขุดค้นแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ปีงบประมาณ 2546. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. (2510). พระนคร: ผ่านฟ้าพิทยา.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ประโชติ สังขนุกิจ. (2531). การขุดค้นเตาบ้านเตาไห. ศิลปากร. 32(5), 34-41.

ปราณี แจ่มขุนเทียน. (2536). แนวทางอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองพิษณุโลก. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ). (2505). พระนคร: โอเดียนสโตร์.

ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ (แปล). (2512). บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ 17 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

มุฑิตา ณรงค์ชัย. (2542). เขาสมอแครง เขาศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดพิษณุโลก. เมืองโบราณ. 25(3), 42-48.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:

นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ลุ่มน้ำน่าน ประวัติศาสตร์โบราณคดีของพิษณุโลก “เมืองอกแตก”. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศศิภาภรณ์ พัชราภา. (2551). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลปากโทก. พิษณุโลก: สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หลวงพ่อขาว วัดท่าโรงตะวันตก พระพุทธรูปโบราณที่พบในท้องที่บ้านท่าโรง. (2554). [ภาพถ่าย]. พิษณุโลก: ธีระวัฒน์ แสนคำ.

หลวงพ่อโต วัดไผ่ค่อมรัตนาราม พระพุทธรูปโบราณที่พบในท้องที่บ้านไผ่ค่อม. (2554). [ภาพถ่าย]. พิษณุโลก: ธีระวัฒน์ แสนคำ.

แหล่งเตาตาปะขาวหาย. (2564). [ภาพถ่าย]. พิษณุโลก: เบญจพร บุญศิริรุ่งเรือง.

หวน พินธุพันธ์. (2514). พิษณุโลกของเรา. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.