บทบาทของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ในการบริหารจัดการปกครองมณฑลอยุธยา พ.ศ.2446-2472

Main Article Content

ธานี สุขเกษม
พัชยา เลือดชัยพฤกษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ในการบริหารจัดการปกครองมณฑลอยุธยาในช่วงปี พ.ศ. 2446 ถึง พ.ศ. 2472 เป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์โดยใช้เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรองเป็นข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาของการดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยานั้น พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้บริหารจัดการปกครองมณฑลอยุธยาและหัวเมืองอื่น ๆ ของมณฑลในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) การปกครอง (2) การศาล (3) การศึกษา (4) การอนามัย (5) การคลังและการเก็บภาษีอากร (6) การโยธา และ (7) ด้านอื่น ๆ ผลงานของท่านได้บรรลุเป้าหมายตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่มีสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดี ผลจึงทำให้มณฑลอยุธยามีการพัฒนาทุก ๆ ด้าน จนถึงปัจจุบัน จึงนับได้ว่าพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ม.2/25. “เรื่องราชการเมืองสิงห์บุรีรวมเมืองพรหม 1 เมืองอินทร์ 1 เมือง เข้าเป็นเมืองสิงห์บุรี”. 28 สิงหาคม ร.ศ.115 - 15 ธันวาคม ร.ศ.115.

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ม.40/1. “เรื่องราชการมณฑลกรุงเก่า”. 5 มิถุนายน ร.ศ.114.

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ม.40/2. “กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศามณฑลกรุงเก่ารายงานราชการหัวเมืองในมณฑล”. 16 กันยายน ร.ศ.117.

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ม.40/2. “มณฑลกรุงเก่า”. 16 กันยายน ร.ศ.117.

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ย. 8/1. “เรื่องประกาศตั้งกรมพิเศษชำระความหัวเมือง”. วันที่ 21 กันยายน ร.ศ.115.

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ย.8/5. “รายงานข้าหลวงพิเศษชำระความหัวเมือง” 19 มกราคม ร.ศ.114 - 17 มกราคม ร.ศ.117.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 11 วันที่ 23 ธันวาคม ร.ศ.113.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 14 วันที่ 30 พฤษภาคม ร.ศ.116.

กรมศิลปากร. (2539). นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมฯ.

กระทรวงมหาดไทย. (2511). ดำรงราชานุสรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพลเอกและมหาอำมาตย์เอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระอนุสาวรีย์ ณ กระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2511. กรุงเทพฯ:

ม.ป.ท.

เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (2529). การเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.2438-2500. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2560). การปฏิรูปการปกครองในรัสเซียพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ประสบการณ์จากสิงคโปร์ ชวา และอินเดีย พ.ศ.2413-2415. วารสารการบริหารปกครอง, 6(1), 1-30.

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2545). สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ชัยยา โพธิ์แดง. (2528). การออกโฉนดที่ดินเมืองกรุงเก่า ระหว่าง พ.ศ.2444-2453. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชินดนัย ไม้เกตุ. (2562). สถาปัตยกรรมบนเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาช่วงสมัยมณฑลกรุงเก่า ปี พ.ศ.2438-2476. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2554). พระยาโบราณราชธานินทร์ฯ (พร เดชะคุปต์) ใน กรุงเก่าเล่าเรื่อง. หน้า 4-25. วรรณศิริ เดชะคุปต์ และปรีดี พิศภูมิวิถี (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา และพระยาราชเสนา. (2545). เทศาภิบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

เตช บุนนาค. (2524). การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบปฏิวัติหรือวิวัฒนาการ ใน มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ. หน้า 20-27. วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แสงรุ้งการพิมพ์.

เตช บุนนาค. (2532). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ.2435-2458. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์. (2510). การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน. วิทยานิพนธ์พัฒนาบริหาร

ศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทศพร ศรีสมาน. (2550). รำลึกถึงพระยาโบราณฯ ผู้ทรงคุณค่าต่อมณฑลกรุงเก่า. ความรู้คือประทีป. (1), 8-13.

นวลเพ็ญ ภาณุรัตน์. (2521). การจัดการปกครองมณฑลกรุงเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2438-2453). ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฑร์ แตงพันธ์. (2555). การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล พ.ศ.2482-2544. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาณุพงศ์ ชลสวัสดิ์. (2546). บทบาทของกิจการรถไฟในอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทศวรรษ 2440-2490. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(1), 38-56.

ระยับศรี กาญจนวงศ์. (2541). การจัดระเบียบการออกโฉนดที่ดินแบบใหม่ตามประกาศการออกโฉนดที่ดินมณฑลกรุงเก่า ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) ใน พระพุทธเจ้าหลวงกับชาวกรุงเก่า. หน้า 32-44. ศรีธันว์ อยู่สุขขี (บรรณาธิการ). พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.

วรรณศิริ เดชะคุปต์ และปรีดี พิศภูมิวิถี. (บรรณาธิการ). (2554). กรุงเก่าเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.