ลิเกวิทยุ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ความบันเทิงที่เหลือเพียงความทรงจำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจการลิเกวิทยุในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวิธีการศึกษาด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารอ้างอิงทั่วไป เอกสารชั้นปฐมภูมิ และเอกสารชั้นทุติยภูมิ รวมถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงสัมภาษณ์จากเจ้าของกิจการ โดยผลการศึกษาพบว่า อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เคยมีคณะลิเกวิทยุ จำนวน 2 คณะ คือ คณะลิเกรวมมิตรบ้านแพน และคณะสมพงษ์ ลูกบ้านแพน ที่ในอดีตเคยใช้พื้นที่ทางสื่อวิทยุในการสร้างชื่อเสียง และขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น ในช่วงระยะเวลา พ.ศ.2525-2535 ถึงแม้ว่าต้นทุนในการผลิตและเช่าพื้นที่สื่อจะมีอัตราค่าใช้จ่ายสูง แต่ด้วยความนิยมของลิเกซึ่งมีอยู่ทั่วไป และจุดแข็งของสื่อวิทยุที่มีลักษณะเป็นสื่อรุก สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้คนจำนวนมาก แม้ในพื้นที่ที่การคมนาคมเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้มีห้างร้านต่าง ๆ สนใจให้การสนับสนุนทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการดำเนินงานเป็นจำนวนมาก โดยมีเงื่อนไขคือ คณะลิเกนั้นจะต้องช่วยโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือร้านค้าของตนเป็นข้อแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ ต่อมาเมื่อสื่อโทรทัศน์สามารถเข้าถึงผู้คน
ได้มากขึ้นและลิเกส่วนหนึ่งเริ่มหันมาใช้สื่อโทรทัศน์แทน ลิเกวิทยุจึงเริ่มเสื่อมความนิยมลง ทำให้ผู้สนับสนุนรายต่าง ๆ เริ่มถอนตัว ส่งผลให้คณะลิเกทั้งสองคณะเกิดปัญหาการขาดแคลนทุนทรัพย์ อันเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้องล้มเลิกกิจการลิเกวิทยุ เหลือแต่เพียงคำบอกเล่า ป้ายคณะ และสถานที่ต่าง ๆ เป็นหลักฐานและมรดกความทรงจำในอดีต อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอความบันเทิงสู่ผู้ชมที่สอดคล้องกับความนิยมของผู้คน
ในสังคม เพื่อการดำรงอยู่ของลิเกในฐานะของศิลปะการแสดงที่เป็นมรดกภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของไทย
Article Details
References
กนิษฐา เทพสุด. (2557). การปรับประสานสื่อพื้นบ้าน “ลิเก” ผ่านทางสื่อโทรทัศน์: กรณีศึกษารายการลิเกรวมดาวดารา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
การแสดงลิเกของคณะสมพงษ์ ลูกบ้านแพน ในอดีต. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
เกษร ไตรหาญ. (2564, 6 มีนาคม). สัมภาษณ์.
จิรพงษ์ ป่าขจร. (2564, 4 เมษายน). สัมภาษณ์.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ, พระบาทสมเด็จพระ. (2564). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 10. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564, จาก vajirayana.org
ชนานาถ พรรณอรรถ. (2564, 26 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
ชรูด กิจโชคดี. (2564, 6 มีนาคม). สัมภาษณ์.
ดำรงราชานุภาพฯ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2564). สาส์นสมเด็จ. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564, จาก vajirayana.org
นริศรานุวัติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2564). สาส์นสมเด็จ. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564, จาก vajirayana.org
นางเอกลิเก "น้ำเพชร บุตรสมพงษ" หรือนางสาวสุภาพันธ์ ไตรหาญ. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
นาฬิการูปพระเอกลิเก เพ็ชร บ้านแพน. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
ป้ายโฆษณาของคณะ ริมถนนปากทางเข้าบ้านของนายชรูด กิจโชคดี. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
พระเอกลิเก เพ็ชร บ้านแพน หรือนายชรูด กิจโชคดี ในวัยหนุ่ม. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
พระเอกลิเก เพ็ชร บ้านแพน หรือนายชรูด กิจโชคดี ในวัยหนุ่ม (2). (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
พระเอกลิเก สมพงษ์ ลูกบ้านแพน หรือนายสมพงษ์ ไตรหาญ ในวัยหนุ่ม. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2564). ลิเกยุคต่าง ๆ. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2564, จาก www.saranukromthai.or.th.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). วิวัฒนาการ และสถานภาพปัจจุบันของสื่อ โครงสร้างตลาดสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อใหม่ (New Media), วิวัฒนาการเทคโนโลยี ของสื่อ. (เอกสารรายงานผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
วิวัฒน์ชัย บุญเรือง. (2564, 4 เมษายน). สัมภาษณ์.
วิหารพระพุทธชินราช วัดสามกอ สถานที่บันทึกเสียงการแสดงลิเก ของคณะสมพงษ์ ลูกบ้านแพน. (2564). [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา: เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์.
สมพงษ์ ไตรหาญ. (2564, 6 มีนาคม). สัมภาษณ์.
สมยศ รู้สมัย. (2564, 21 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
สุภาพันธ์ ไตรหาญ. (2564, 6 มีนาคม). สัมภาษณ์.
อนุกูล โรจนะสุขสมบูรณ์. (2557). ลิเกในประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อนุกูล โรจนะสุขสมบูรณ์. (2561). ลิเกในประเทศไทย. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 9(1), 22.