ความเชื่อเรื่องนาคในวรรณคดีสมัยอยุธยา

Main Article Content

วรางคณา ปัญญามี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษา วิเคราะห์รูปแบบและลักษณะความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า จากวรรณคดีสมัยอยุธยาทั้งหมด 44 เรื่อง มีการกล่าวถึงนาคจำนวน 17 เรื่อง ดังนี้ (1) นาคในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นได้รับอิทธิพลจากคติพราหมณ์และคติไตรภูมิ (2) นาคในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางได้รับอิทธิพลมาจากทั้งความเชื่อในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ และ (3) นาคในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธทั้งหมด


ในการวิเคราะห์สามารถจำแนกรูปแบบและลักษณะความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยาได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) การใช้นาคในเชิงวรรณศิลป์ จำนวน 12 เรื่อง แบ่งออกเป็นการใช้นาคในเชิงเปรียบเทียบ มีความหมายลึกซึ้ง จำนวน 10 เรื่องและการใช้นาคในการประพันธ์ มีจำนวน 2 เรื่อง (2)การกล่าวถึงนาคในบริบทของจิตรกรรม สถาปัตยกรรมและสิ่งของ จำนวน 6 เรื่อง และ (3) การใช้นาคเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่อง จำนวน 4 เรื่อง โดยวรรณคดีบางเรื่องมีการกล่าวถึงนาคหลายลักษณะร่วมอยู่ด้วย สะท้อนให้เห็นว่ากวีในสมัยอยุธยานิยมใช้นาคในเชิงวรรณศิลป์มากที่สุด และนาคที่ปรากฏในวรรณคดีก็มาจากคติ ความเชื่อที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2. (2550). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

กรมศิลปากร. (2502). บทกวีนิพนธ์ของพระศรีมโหสถ. ลพบุรี: งานปรับปรุงบูรณพระนารายณ์ราชนิเวศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.

กรมศิลปากร. (2531). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.

กรมศิลปากร. (2561). วรรณคดีแห่งชาติ เล่ม 2 สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

กรมศิลปากร. (2536). สมุทรโฆษคำฉันท์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: งานพระราชทานเพลิงศพพระศีลจารย์พิพัฒน์ (แจ่ม ธุวาโภ).

กรมศิลปากร. (2503). อนิรุทธ์คำฉันท์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ. กรุงเทพฯ: งานสัปดาห์แห่งวรรณคดี.

กัญญารัตน์ เวชศาสตร์. (2559). มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไทย. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(1), 1099-1116.

กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, บรรณาธิการ. (2542). วรรณกรรมอาเซียน เล่ม 2 เอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาฉบับแปล. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ตรงใจ หุตางกูร. (2560). อุปาทวาทศมาสโคลงดั้น วรรณกรรมเพชรน้ำเอกแห่งกรุงพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ:. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ธิดา สาระยา. (2533). อยุธยาในฐานะศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการปกครอง. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสกุล และคณะ (บรรณาธิการ). ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา. (หน้า 55-79). พระนครศรีอยุธยา: อัลลายด์พรินเตอร์ส.

นิตยา แก้วคัลนา. (2555). นัยแห่งการพาดพิงในกวีนิพนธ์ไทย รากเหง้าทางภูมิปัญญาและพัฒนาการทางความคิดที่แปรเปลี่ยนตามยุคสมัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมนเดส ปินโต เฟอร์เนา. (2548). รวมผลงานแปลเรื่องบันทึกการเดินทางของเมนเดส ปินโต. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. (2555). สถาบันพระมหากษัตริย์ในกฎมณเทียรบาล. นครปฐม: โครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2562). รุธิราชรำพัน โคลงนิราศหริภุญชัยและจารึกวัดพระยืน มรดกความทรงจำแห่งอภินวบุรี ศรีหริภุญชัย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2553). กำสรวลสมุทร สุดยอดกำสรวลศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศานติ ภักดีคำ. (2562). พระเสด็จโดยแดนชล เรือพระราชพิธีและขบวนพยุหยาตราทางชลมารค. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุขุมาลมารศรี พระราชเทวี, พระนางเจ้า. (2466). ปุณโณวาทคำฉันท์. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2554). นาคมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊ค.

เสาวณิต วิงวอน. (2560). ยวนพ่าย: ปฐมบทแห่งวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมัยอยุธยา. ใน สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, โสรมสรวงศิรธิรางค์ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น. (หน้า 119-137). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

อรพิมพ์ บุญอาภา. (2524). นาคในวรรณคดีสันสกฤตและบาลี. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.