แนวทางการพัฒนาเมืองสมุนไพรในจังหวัดมหาสารคามเพื่อดึงดูดตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของเมืองสมุนไพรในจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองสมุนไพรในจังหวัดมหาสารคามให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคตซึ่งเครื่องมือการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมทดลองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 15 คน คือ นักท่องเที่ยวอาสาสมัครซึ่งเป็นตัวแทนนักท่องเที่ยวทดลองในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพมิติสุขภาพดี 5 ด้าน พบว่า 1) ด้านร่างกาย ควรเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงมากเกินไป เช่น การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การยืดเส้นผ่อนคลาย โยคะท่าง่าย ๆ การนวด อบ และประคบสมุนไพร เป็นต้น 2) ด้านจิตใจ รูปแบบกิจกรรม เช่น ทำบุญสวดมนต์ ขอพรจากสิ่งศักดิ์ การได้อยู่ในธรรมชาติ แม้กระทั่งการได้เรียนรู้วัฒนธรรม 3) ด้านอารมณ์ กิจกรรมที่ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติและวัฒนธรรมชุมชน การได้สัมผัสความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน 4) ด้านสังคม การได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ได้พูดคุยซักถามสนทนาเรื่องการใช้สมุนไพร ความรู้ภูมิปัญญา ได้ทำอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกันหรือรับประทานอาหารร่วมกัน กิจกรรมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร
ง่าย ๆ ร่วมกัน และ 5) ด้านจิตวิญญาณ สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมทางด้านจิตวิญญาณ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนึกถึงการไปทำสมาธิเพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณให้มีตนเกิดสติ สมาธิ ปัญญา การไปท่องเที่ยวเพื่อให้ตนเข้าใจชีวิต เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเมืองสมุนไพร. สืบค้นจาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1036
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565) Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เมื่อการมีสุขภาพที่ดีเป็นโอกาสของการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://tatacademy.com/th/articles/article/1f96f700-896a-4f19-845f-f39e00ccf650#
เกตุกนก พงษ์นุรักษ์ และ เกษตรชัย และหีม. (2566) ความต้องการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของประชาชน ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 18(3),136-146.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์ (1991).
ซันฟี ไท, กุลวดี ละม้ายจีน, และ รัตนะ ปัญญาภา. (2566). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 223-242.
ทิพพา ลุนเผ่, วัชรินทร์ สุทธิศัย, และ เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2562) รูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอพื้นบ้าน ด้านสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ นครสวรรค์, 7(2), 1-16.
ธันยาภรณ์ อสิพงษ์. (2564) แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์บ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
บดินทร์ ชาตะเวที. (2565). สมุนไพร ยาไทย ใช้ได้ทุกฤดู. สืบค้นจากhttps://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/301
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. นนทบุรีซ เฟริ์นข้าหลวงพริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
พิฆเนศ ต๊ะปวง. (2565) รายงานผลการตรวจติดตามการพัฒนาเมืองสมุนไพร ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565. สำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12.
สรัญพร สุรวิชัย และ สุวารี นามวงค์. (2563) การพัฒนาจุดหมายปลายทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 145-164.
Global Wellness Institute. (2021). The Global Wellness Economy: Looking Beyond COVID. Retrieved from https://globalwellnessinstitute.org/wp-content/uploads/2022/02/GWI-WE-Monitor-2021_Wellness-Tourism.pdf
Global Wellness Institute. (2023). The Global Wellness Economy Reaches a Record $5.6 Trillion And It’s Forecast to Hit $8.5 Trillion by 2027. Retrieved January 30, 2024, from https://globalwellnessinstitute.org/press-room/press-releases/globalwellnesseconomy
monitor2023/.
Sundel, M., & Sundel, S. (2004). Behavior change in the human services (5th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
White, M. P., Alcock, I., Grellier, J., Wheeler, B. W., Hartig, T., Warber, S. L., ... & Fleming, L. E. (2019). Spending at least 120 minutes a week in nature is associated with good health and wellbeing. Scientific reports, 9(1), 1-11.