Publication Ethics
บทบาท หน้าที่ และจรรยาบรรณในการเผยแพร่ผลงาน (Publication Duties and Ethics) วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ 1. ดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ และพัฒนาคุณภาพของวารสารอย่างต่อเนื่อง และให้เป็นไปตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของวารสาร 2. ส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นและ/หรืออภิปรายของผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และผู้อ่าน อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ 3. ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ เพื่อให้กระบวนการประเมินบทความนั้นมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ และเป็นไปตามเกณฑ์ของวารสาร 4. ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือผลประโยชน์ส่วนตนของบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความ 5. เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ และการขออภัย หากจำเป็น บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์และผู้อ่าน 1. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งบทความและกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer Review) และพร้อมชี้แจงความเบี่ยงเบนต่าง ๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้ 2. ส่งเสริมให้ผู้นิพนธ์ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณในการนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เช่น การอ้างอิงเอกสารอย่างถูกต้องครบถ้วน การรายงานข้อมูลตามความเป็นจริง เป็นต้น 3. ตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานของวารสาร โดยคำนึงถึงความสำคัญ ความทันสมัย และความชัดเจนของบทความ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร 4. ดำเนินการและดูแลการตีพิมพ์เผยแพร่บทความตรงตามความประสงค์ของผู้นิพนธ์ แต่ยังต้องคงไว้ซึ่งความเหมาะสมทางวิชาการ คุณภาพของบทความและวารสาร 5. เปิดโอกาสหรือช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ 1. ชี้แจงหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ประเมินในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประเมินบทความในด้านต่าง ๆ ที่บรรณาธิการคาดหวัง 2. มีระบบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมิน เพื่อให้การประเมินบทความนั้นมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ 3. มีระบบที่ส่งเสริมให้ผู้ประเมินได้แสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำทางวิชาการอย่างอิสระ ปราศจากอคติ และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับคุณภาพของบทความ 4. ส่งเสริมให้ผู้ประเมินปฏิบัติตนที่เกี่ยวเนื่องกับบทความที่ประเมินอย่างเหมาะสม เช่น ไม่คัดลอกบทความที่ประเมินไปเป็นของตนเอง ไม่รับประเมินบทความที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตนเอง เป็นต้น
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ 1. ต้องไม่เคยตีพิมพ์บทความนั้นที่ใดมาก่อน หรือไม่ส่งบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น 2. ในการเขียนบทความ ต้องไม่ปลอมแปลง บิดเบือน ตกแต่งข้อมูลให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัย 3. ต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ผลงาน ภาพ หรือตาราง อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงต้องมีวิธีการอ้างอิง และรายการเอกสารอ้างอิงอย่างถูกต้องทั้งรูปแบบและเนื้อหา 4. ต้องระบุชื่อแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี) และจะต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี) 5. ต้องปรับแก้ไขเนื้อหาของบทความตามผลประเมินจากผู้ประเมินบทความและกองบรรณาธิการ และปรับแก้ไขรูปแบบของบทความให้ถูกต้องและแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ 1. ต้องไม่เปิดเผยข้อมูล และ/หรือผลการประเมินของบทความที่ได้ประเมิน 2. ควรประเมินบทความเฉพาะในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ 3. ต้องประเมินบทความโดยยึดหลักวิชาการ และให้คำแนะนำทางวิชาการโดยปราศจากอคติ และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ 4. หากพบการคัดลอก หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ 5. ต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง อ้างอิงจาก https://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf โดย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) |