ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่สามารถอธิบายการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ได้ร้อยละ 83.9 โดยตัวแปรส่วนประสมทางการตลาดบริการที่อธิบายการเลือกใช้บริการมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ (Beta = 0.632) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (Beta = 0.307) ด้านบุคลากร (Beta = 0.166) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Beta = 0.125) ด้านกายภาพ (Beta = 0.101) และด้านราคา (Beta = 0.075) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ยกเว้นด้านการส่งเสริมทางการตลาด ไม่สามารถอธิบายการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กชพร แก้วสังข์. (2564). ภาพลักษณ์องค์กรและแนวโน้มการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถของประชาชน. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรวรรณา วงษ์ยอด. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถกับบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด (ศรีสวัสดิ์) ของลูกค้าธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน). (2566). สินเชื่อทะเบียนรถยนต์. สืบค้นจาก https://www.tiscoautocash.com/th/loan/car-loan.htm
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). การกำกับดูแลสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/th/
นรวิชญ์ แก้วเจริญ. (2563). แรงจูงใจและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 1. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2566). ส่องตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ 4 แสนล้าน เมื่อกสิกรไทยโดดร่วมวง. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2567, จาก https://www.prachachat.net/finance/news-1272898
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). “ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ”. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 145-163.
ปริญ พิมพ์กลัด, ประภาพร บุญปลอด, และ วสันต์ กากแก้ว. (2563). “อนาคตภาพการบริหารองค์การธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ พ.ศ. 2562-2572 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.), 18(1), 147-163.
ปรีชา อยู่จุ้ย. (2566). การเปิดรับข่าวสาร ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการใช้บริการของธุรกิจสินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถ ประเภทสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank). วิทยานิพนธ์การจัดการการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). “การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI”. รังสิตสารสนเทศ, 28(1), 169-192.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2551). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4) . กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย.
สุภาภรณ์ สังข์เพ็ชร. (2564). กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์กับ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด ของลูกค้าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต M.B.A. for Visionary Leaders (Twilight Program) รุ่น 15/2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอมพวัลย์ มาตังครัตน์. (2565). ปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าใช้บริการสินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์กับธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Booms, B. H., & Bitner, M. J. (1981). “Marketing strategies and organization structures for service firms”, in Donnelly, J.H. and George, W.R (Eds), Marketing of Services, American Marketing Association, Chicago, IL, pp. 47 – 51.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Dewey, J. (1910). How We Think. Lexington, MA: D.C. Heath and Company. https://doi.org/ 10.1037/10903-000.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control (9th ed.). New Jersey: A Simon & Schuster Company.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2011). Marketing Management (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.