ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการกับพฤติกรรมการใช้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และพฤติกรรมการใช้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการกับพฤติกรรมการใช้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV และ BEV และใช้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25 – 31 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท รายได้ 10,000 – 24,999 บาทต่อเดือน ให้ความสำคัญปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด มีพฤติกรรมการใช้บริการเพราะความสะดวก จองการใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ใช้สถานที่ชาร์จในปั๊มน้ำมัน เวลาที่ใช้บริการคือ ช่วง On Peak จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 – 22.00 น. ประเภทหัวชาร์จเป็น AC type1 และ AC type2 ตัดสินใจใช้ด้วยตนเอง ปริมาณการชาร์จต่อครั้งโดยเฉลี่ยร้อยละ 82.83 มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 202.72 บาทต่อครั้ง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธกับพฤติกรรมการใช้สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และส่วนประสมทางการตลาดบริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กรมการขนส่งทางบก. (2567). เผยสถิติการจดทะเบียนรถพลังงานไฟฟ้า. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/3515?embed=true
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ชุษณา เทียนทอง. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้, 8(2), 49 – 61. สืบค้นจาก https://ph01.tcithaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/252805/171804.
ฐณิชฌา จิตตปารมี.(2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการชนิดต่าง ๆ จากร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์อิสระ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัรฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นัดทมน ธวัชเรืองสกุล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่อยู่ในสถานีบริการน้ำมัน. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รักษ์สินธิ์ แสงรุจี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์เครื่องสันดาปในประเทศไทยที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภกร เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์, และ อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สถาบันยานยนต์. (2566). ความรู้ยานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น. สืบค้นจาก https://www.thaiauto.or.th/2012/th/services/ev/pdf/ev-Intro.pdf.
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2565). EVAT Directory Electric Vehicle Guidebook 2022 – 2023. สืบค้นจาก https://evat.or.th/images/evinfo/directory/pdf/1.pdf
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2566). จำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย. สืบค้นจาก https: //evat.or.th/ev-information/current-status/index.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2561). คู่มือประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV). สืบค้นจาก https://www.erc.or.th/web-upload/200xf869baf82be74c18cc110e974eea8d5c/filecenter/PDF/manual-ev.pdf
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2565). คู่มือโครงการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ. สืบค้นจาก https://www. eppo.go.th/images/energyconservation/EV/EV_ Manual.pdf.
Best, John W. (1977). Research in Education. (3rd ed). Englewood cliffs, N. J.: Prentice-Hall Inc.
Blackwell, R. D., Miniard, P. W., & Engel, J. F. (2006). Consumer behavior (10th ed.). Mason,OH: Thomson/ South-Western.
car.Kapook.com. (2567). รวมจุด 500 สถานีชาร์จรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ อัปเดตปี 2024. สืบค้นจาก https://car.kapook.com/view278158.html.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.
McCarthy, J. E. (1964). Basic Marketing. A Managerial Approach. Homewood, IL: Irwin.
Phasuk, C. (2566). ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคา? ทำยังไง (ตั้งแต่ต้นจนจบ). สืบค้นจาก https://www.one2car.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0% B8%A7/how- to-install-ev-charger-at-home-132360/132360.
Phuripat Sukkasem. (2023). Key Factors Influencing Consumer Choice of Electric Vehicle (EV) Charging Stations. Master of Management, Mahidol university.
Kotler, P. (1999). Marketing for Hospitality and Tourism. Upper Saddle River: Prentice Hall.
Tu, J. C., & Yang, C. (2019). Key Factors Influencing Consumers’ Purchase of Electric Vehicles. Sustainability, 11(14), 3863. Retrieved from https://www.mdpi.com/ 2071-1050/11/14/3863
Xu, Y., Zhang, W., Bao, H., Zhang, S., & Xiang, Y. (2022). Key influencing factors of electric vehicle charging station site selection: A comprehensive review. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 153, 111756. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.rser.2021. 111756.
Zhang, X., Liang, Y., Yu, E., Rao, R., & Xie, J. (2021). Review of electric vehicle policies in China: Content summary and effect analysis. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 70, 698-714. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.rser.2016.11.250