การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืนกรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ภายหลังการเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ภาคีการท่องเที่ยวจำนวนทั้งสิ้น 406 ราย การเก็บข้อมูลในการวิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงสถิติด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติสำเร็จรูป ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าดัชนีความกลมกลืน ได้แก่ ค่า c2 = 189.982 ค่า df = 162.00 ค่า p-value = 0.066 ค่า c2/df = 1. 173 ค่า GFI = 0.962 ค่า AGFI = 0.935 ค่า RMR = 0.021 ค่า RMSEA = 0.021 ค่า CFI = 0.997 และค่า NFI = 0.982 ปัจจัยองค์ประกอบการท่องเที่ยวสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนดังนี้ การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนประกอบด้วย องค์ประกอบการท่องเที่ยว (0.93) องค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน (0.96) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (0.89) การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการการท่องเที่ยว (0.54) องค์ประกอบทั้ง 4 มีนัยทางสถิติ และโมเดลการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืนมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นไปตามเกณฑ์ ในทุกองค์ประกอบ และรัฐ เอกชน ชุมชน ควรให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูง และปรับปรุงแก้ไขกับองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบต่ำ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2564). 160 ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี. สืบค้นจาก https://www.cdd.go.th/160-ชุมชน
ท่องเที่ยวนวัตวิถี.
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (2564). COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/BannerLink/PBVol01Covid_ DigitalEd.pdf
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). มาตรฐาน SHA มาตรฐานเพื่อประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ New normal. สืบค้นจาก https://thai.tourismthailand.org/Articles/sha-2
ณนนท์ แดงสังวาลย์, ประสพชัย พสุนนท์, และ เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(5), 1983-1998.
ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2560). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ, ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ, และ ธารณี นวัสนธี. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 8-16.
ธิปฏพณร์ ยิ้มประเสริฐ. (2563). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและจิตวิทยาการท่องเที่ยว : แนวทางขับเคลื่อนและฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยชุมชน หลังวิกฤตกาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(2), 402-420.
ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2562). เอกสารการสอนชุดวิชา วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว หน่วยที่ 8-15 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1), หน่วยที่ 15 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ. (2564). การรับรู้ของภาคีการท่องเที่ยวตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(1), 159-177.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2565). การปรับตัวของแรงงานในภาคการท่องเที่ยวในยุคโควิด-19. สืบค้นจากhttp://econ.nida.ac.th/2022/03/
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงค่า IOC. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-145.
มะโน ปราชญาพิพัฒน์. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยว อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 28(4), 115-133.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2554). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/
สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก. (2562). เกณฑ์ GSTC สำหรับแหล่งท่องเที่ยว Version 2.0. สืบค้นจาก https://www.gstcouncil.org/wp-content/uploads/GSTC-Criteria-for-Destinations-2.0-Thai.pdf
สุพิทักข์ โตเพ็ง, ประสูตร เหลืองสมานกูล, ชลดา ศรีสุวรรณ, และ มธุริน รุจาฉันท์. (2566). โมเดลสมการโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชนส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 6(1), 137-151.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2565). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.dasta.or.th/th/article/1495
อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร. 44(1), 36-42.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper Collins.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. London: Hodder Education.
Fermani A., Sergi M. R., Carrieri A., Crespi I., Picconi L., & Saggino A. (2020). Sustainable Tourism and Facility Preferences: The Sustainable Tourist Stay Scale (STSS) Validation. Sustainability Journal, 12, 1-14.
Sharma P., Charak S. N., & Kumar R. (2018). Sustainable Tourism Development and Peace: A Local Community Approach. Journal of Hospitality Application & Research (JOHAR), 13(1). 36-56.
World Tourism Organization (UNWTO). (2017). 2017 Is the International Year of Sustainable Tourism for Development. Retrieved from https://www.unwto.org/archive/global/press-release/2017-01-03/2017-international-year-sustainable-tourism-development
World Tourism Organization (UNWTO). (2020). COVID-19 Related Travel Restrictions - a Global Review for Tourism, Third Report as of 8 May 2020. Retrieved from https://webunwto.s3.eu-west-1.amazonaws.com/s3fs-public/2020-05/TravelRestrictions-08-Mayo.pdf