ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธีรพร จิรธรรมคุณ
กิตตินาท นุ่นทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานlสามารถอธิบายความสมดุลของชีวิตการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 88.7 โดยปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่อธิบายสมดุลของของชีวิตการทำงานมากที่สุด คือ ด้านการจัดการระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว มีค่าเท่ากับ 0.288
(t = 14.724, p = 0.000) รองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน มีค่าเท่ากับ 0.178 (t = 5.927, p = 0.000) ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม มีค่าเท่ากับ 0.165 (t = 7.297, p = 0.000) ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของตนเอง มีค่าเท่ากับ 0.101 (t = 3.512, p = 0.000) ด้านความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร มีค่าเท่ากับ 0.074 (t = 2.735, p = 0.007) และด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเท่ากับ 0.051 (t = 2.416, p = 0.016) ยกเว้น ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ และด้านความยุติธรรมในองค์กร ไม่สามารถอธิบายความแปรปรวนในสมดุลของของชีวิตการทำงานรวมของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานครได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (ม. ป. ป.). คำอธิบายสรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๔. สืบค้นจาก https://legal.labour.go.th/images/law/Safety2554/2554_2382564.pdf

ชนัญญา พิกุลทอง. (2566). การจัดการความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (Work Life Balance) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในสนามบินนานาชาติภูเก็ต, สืบค้นจาก http://www.mbaphangnga.ru.ac.th/ documents/IS/IS3/6424103018.pdf

นภาพันธ์ ใจคำปัน. (2564). ความท้าทายในงาน สุขภาวะทางจิต และความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของพนักงานศูนย์การค้า. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัทมาวรรณ จินดารักษ์ และ สายสุนีย์ เกษม. (2562). สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความ หลากหลายของกลุ่มวัย. วารสารนักบริหาร, 39(1), 3-11.

พูนศักดิ์ ศรีประพันธ์. (ม.ป.ป.). Work-Life Balance (การสร้างสมดุลชีวิตการทำงาน). สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี, สืบค้นจาก https://dopah.anamai.moph.go.th/

สราวลี แซงแวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนิสา เหลืองปัญญากุล และ เกวลิน เศรษฐกร. (2564). ความสัมพันธ์ของความสมดุลชีวิตและงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน. การค้นคว้าอิสระ สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Allen, T. D., Herst, D. E., Bruck, C. S., & Sutton, M. (2000). Consequences associated with work-to family conflict: A review and agenda for future research. Journal of Occupational Health Psychology, 5, 278–308.

Arief, N. R., Purwana, D., & Saptono, A. (2021). Effect of quality work of life (QWL) and work-life balance on job satisfaction through employee engagement as intervening variables. The International Journal of Social Sciences World (TIJOSSW), 3(1), 259-269.

Aruldoss, A., Kowalski, K. B., & Parayitam, S. (2020). The relationship between quality of work life and work-life-balance mediating role of job stress, job satisfaction and job commitment: evidence from India. Journal of Advances in Management Research, 18(1) 36-62.

Retrieved from https://doi.org/10.1108/JAMR-05-2020-0082

Askari, R., Rafiei, S., Akbari, R., Ebrahimi, E. H., Dehghani, A., & Shafii, M. (2021). The relationship between work-life balance and quality of life among hospital employees. International Journal of Healthcare Management, 14(2), 436-440.

Bhende, P., Mekoth, N., Ingalhalli, V. & Reddy, Y. V. (2020). Quality of work life and work-life balance. Journal of Human Values, 26(3), 256-265.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Francis, S., & Fonceca, C. M. (2023). Quality of work life among employees: Descriptive study. Journal of Academia and Industrial Research (JAIR), 11(3) 56-59.

Gornick, J. C, & Meyer, M. K. (2003). Families That Work: Policies For Reconciling Parenthood And Employment, Industrial and Labor Relations Review. New York Russell Sage Foundation. ISBN 0-87154-356-7.

Hackman, J. R., & Suttle, J. L. (1977). Improving Life at Work: Behavioral Science Approaches to Organizational Change. Goodyear Publishing Company.

Ismail, H. N., & Gali, N. (2022). Relationships among work-life balance, work-family conflict, and job satisfaction: A cross-sectional study of working adults in Malaysia. International Journal of Human Resource Studies, 12(1), 1-21.

Merrill A. R., & Merrill, R. R. (2003). Life Matter: Creating a dynamic balance of work, family, time and money. New York: McGraw-Hall.

Ogunola, A. A. (2022). Quality of work-life and work-Life balance as predictors of employee job satisfaction. Tazkiya Journal of Psychology, 10(1).

Shivani, D. (2017). A study of quality of work life: Key elements and it’s implications. International Journal of Science Technology and Management. 6(5): 96-108.

Sirgy, M. J., & Lee, D. J. (2020). Work-Life Balance: An Integrative Review. Applied Research in Quality of Life, 15, 1699-1711.

Su, Z., & Zabilski, A. (2022). What is the relationship between quality of working life, work–life balance and quality of life? Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 14(3), 247-260.

Walton, R. E. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Davis, L. E. et al. The Quality of Working Life: problems, projects and the state of the art. New York: The Free Press, Life.