การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

นารีภรณ์ ศรีจริต
ชวลีย์ ณ ถลาง
เสรี วงษ์มณฑา
ชุษณะ เตชคณา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดพัทลุง และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน นักวิชาการ และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รวมจำนวน 22 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดพัทลุงมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว พบว่า มีทะเลน้อย ล่องแก่งอำเภอป่าพะยอม มโนราห์ หนังตะลุง วัง และวัดต่าง ๆ 2) ด้านการรองรับนักท่องเที่ยว พบว่า โดยภาพรวมจังหวัดมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวในปริมาณมาก 3) ด้านการบริหารจัดการ พบว่า มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ และมีการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ 4) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่า เทศบาลมีนโยบายให้ชุมชนต่าง ๆ มุ่งเน้นให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือน เพื่อนำมา
แปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับขยะและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ โดยมีแนวทางการพัฒนา ได้แก่
1) การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ 2) การจัดให้มีไกด์ประจำท้องถิ่นหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่น 3) การพัฒนารูปแบบแอพพลิเคชั่น (Application) 4) การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ
5) การพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางการเดินทางเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งนี้ งานวิจัยฉบับนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อการวางแผนด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการออกแบบ พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). สืบค้นจาก http://marketingdata base.tat.or.th/ewtnews.php?nid=1701&filename=index

ณัฐพล แย้มวัฒน์, จิรัสย์ ศิรศิริรัศม์, ศัชชญาส์ ดวงจันทร์ และสุขุม เฉลยทรัพย์. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวตามเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 2(2), 23-34.

ดวงธิดา พัฒโน และจาริณี แซ่ว่อง. (2560). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 37(2), 89-106.

ตนุยา เพชรสง, ชมพูนุช จิตติถาวร และผกามาศ ชัยรัตน์. (2564). ศักยภาพการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพัทลุง. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(5), 69-80.

พยอม ธรรมบุตร. (2562). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานอัตลักษณ์และวิถีไทยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ, 13(3), 65-75.

ภัยมณี แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 6(1), 91-109.

เมทิกา พ่วงแสง, ปาริชาติ ช้วนรักธรรม, และรัชพล แย้มกลีบ. (2564). การจัดการความรู้ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดพัทลุงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(2), 53-67.

วันวิสาข์ พลอย อินสว่าง และคณะ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดตรังอย่างมีส่วนร่วม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2394-2401). นครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุภาภรณ์ หาญทอง. (2543). ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง. ภาคนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เสรี วงษ์มณฑา. (2564). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: นวัตกรรมการเคลื่อนขยับของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร. พระนคร, 1(1), 1-24.

Brundland Commission. (1987). Our common future: Report of the world commission on environment and development. Retrieved from http://www.un-documents.net/our-common- future.

Techakana, J. (2022). A Structural Equation Model for Developing and Promoting Creative Tourism in Thailand. Journal of Positive School Psychology. 6(4), 7730-7740.

Tourism Authority of Thailand. (2018). Tourism Authority of Thailand. Retrieved from https://www.tourismthailand.org/fileadmin/downloads/pdf/

UNESCO. (2006). Toward Sustainable Strategies for creative tourism. Discussion Report of the Planning Meeting for 2008 International Conference on Creative Tourism. Santa Fe, New Mexico. U.S.A. Retrieved from https://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/ 08/suddan-2558.pdf

World Travel and Tourism Council. (2017). Travel and Tourism Economic Impact 2017 World. Retrieved from https://www.wttc.org/-/media/files/reports/economic-impact-research/ regions-2017/world2017.pdf

Wurzburger, R. (2010). Creative tourism: A global conversation: How to provide unique creative experiences for travelers worldwide. Santa Fe: Sunstone.