บทบาทภรรยานักการเมืองไทย

Main Article Content

สุรภา อิทธะพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องบทบาทภรรยานักการเมืองไทยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ1). ศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการ และแนวคิดบทบาทของภรรยานักการเมือง 2). ศึกษาปัจจัยรากฐานที่ส่งผลต่อการแสดงบทบาทความเป็นภรรยานักการเมืองไทย 3). ศึกษาบทบาทของภรรยานักการเมืองไทย ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร


 (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษา พบว่า 1)ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ และแนวคิดบทบาทของภรรยานักการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท โครงสร้างของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ปัจจัยรากฐานที่ส่งผลต่อการแสดงบทบาทความเป็นภรรยานักการเมืองไทย ได้แก่ปัจจัยที่เป็นการส่งเสริมบทบาทความเป็นภรรยานักการเมืองไทย เช่น การศึกษา ครอบครัวและผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อบทบาทความเป็นภรรยานักการเมืองไทยเช่นปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต และทัศนคติไทย 3) บทบาทของภรรยานักการเมืองไทย ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 ได้แก่บทบาทในพื้นที่ส่วนตัว อาทิเช่นการดูแลสมาชิกภายในบ้าน การเป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนข้อมูล รวมถึงการดูแลภาพลักษณ์ของสามี ส่วนบทบาทในพื้นที่สาธารณะได้แก่ การลงหาเสียงช่วยสามีในการเลือกตั้ง การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ การช่วยเหลือองค์กรทางสังคม การหารายได้เพื่อช่วยเหลือ จุนเจือครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พ.ย. 2551 เราเลิกกันเถอะ ลับ ลวง จริง ภาคพิเศษ. (14 พฤศจิกายน 2561). คมชัดลึกออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/352121

กระปุกดอทคอมออนไลน์. (2551). พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ หลังบ้านนายกรัฐมนตรีคนที่ 27, สืบค้นจาก https://hilight.kapook.com/view/32121

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (2556). จากหลังบ้านถึงนายกรัฐมนตรีหญิง: ความเป็นหญิงพื้นที่ทางการเมืองและชีวิตทางสังคม . สืบค้นจาก https://www. Prachatai.com/journal/2012/01/38617

ชานันท์ ยอดหงษ์. (2561). ความสง่างามของภริยานายกรัฐมนตรี, สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2561 จากhttps://thematter.co/thinkers/first-lady-of-thailand/44258#_ftn2

พรรณประภา อินทรวิทยานันท์. (2550). บทบาทและอิทธิพลภริยานายกรัฐมนตรีไทยต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองไทยในรอบ70 ปี (2475-2550). กรุงเทพฯ: บ้านพิทักษ์อักษา

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์

พับลิเคชั่นส์

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีปฎิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์กับการอธิบายปรากฎการณ์สังคมจากมุมมองตัวแสดง. วารสารการบริหารและกฎหมาย. 5(2), 69-89.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. (2557) สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง รศ. นราพร จันทร์โอชา, สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/report/314379

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. (2018). เปิดตัว 2 สตรีเบื้องหลัง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-44276427

อิมาอิ ฮิซาโอะ. (1988). ชีวิตภรรยานักการเมือง (อาทร ฟุ้งธรรมสาร). วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษา, 5 (1), 72-89.

Dictionary of education (2009). Oxford dictionary of education. Retrieved from https://www.oxfordreference.com/view/10.1093/acref/9780199212064.001.0001/acref-9780199212064

Mthai online. (2016).เปิดภาพวัยใส ‘บิ๊กตู่-ภริยา’ ย้อนเส้นทางรัก ‘โรจนจันทร์-จันทร์โอชา’. สืบค้น จาก https://news.mthai.com/politics-news/502350.html

Positioningmag. (2006), พจมาน ชินวัตร หญิงผู้ทรงอิทธิพล, สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562, จากhttps://positioningmag.com/8861

Stanley, L, Wise, S. (1993). Breaking Out Again: Feminst ontology and Epiatemology, (2nd ed.). London: Routledge.

Van Wyk, J. A. K., Muresan, A., & Nyere, C. (2018). African first ladies, politics and the state. Politeia, 37(2).