แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของพนักงานในเครือบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

บุญนำ กลิ่นบุญเรือง
วงศ์ธีรา สุวรรณิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับการยอมรับเทคโนโลยีของพนักงานในเครือบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับเทคโนโลยีของพนักงานในเครือบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 322คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งกลุ่มพนักงานตามสายงาน แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานแต่ละกลุ่มสายงานตามสัดส่วนด้วยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-Way ANOVA และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า


1. พนักงานในเครือบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการยอมรับเทคโนโลยีแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


2. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน 3 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในงาน ซึ่งอยู่ในส่วนของปัจจัยจูงใจ ด้านนโยบายการบริหารงานขององค์กร และด้านตำแหน่ง ซึ่งอยู่ในส่วนของปัจจัยเกื้อหนุน ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของพนักงานในเครือบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) โดยปัจจัยด้านนโยบายการบริหารงานขององค์กร ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของพนักงานในเครือบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ รักวงศ์ภัทร. (2560). แรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของ

นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรัสย์ สิรินิวัฒน์กุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ SAP ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิราภรณ์ ทองใบ. (2559). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศของพนักงานบริษัทเนสิค (ประเทศไทย) จำกัด. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิรายุส ปิ่นสินชัย. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและใช้เทคโนโลยีระบบตรวจสอบกระเป๋าสัมภาระก่อนขึ้นเครื่อง (PBRS) ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณิชาฎา ใจซื่อ. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ของกลุ่ม Gen X และ Gen Y ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

นรา หัตถสิน และวิริญญา ชูราษี. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของอาจารย์: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. รายงานการวิจัยกองทุนวิจัย, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิชญ์สินี โพธิจิตติ. (2562, มิถุนายน). Industry Update ธนาคารออมสิน อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ. [Blog post]. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563 จากhttps://www.gsbresearch.or.th

พิมลพรรณ แก่นทอง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันกับองค์การของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์. (2556). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

รวินท์พร สุวรรณรัตน์, (2560). แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2562, ธันวาคม 31). แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563 จาก https://market.sec.or.th

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.