การตัดสินใจสั่งสินค้าออนไลน์ในรูปแบบสั่งสินค้าล่วงหน้าจากประเทศจีนของกลุ่มผู้ประกอบการออนไลน์

Main Article Content

ขวัญเรือน เพชรเทศ
สนิทนุช นิยมศิลป์
สินาท นาควัชระ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจสั่งสินค้าออนไลน์ในรูปแบบสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าจากประเทศจีนของกลุ่มผู้ประกอบการออนไลน์ จำนวน 219 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis) และการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (Cluster Analysis) โดยศึกษาทั้ง
ในด้านรูปแบบการนำเข้าสินค้า การรับประกันสินค้า และลักษณะการชำระเงิน และใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับรูปแบบการนำเข้าสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 49.72 ของการตัดสินใจ โดยปัจจัยที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ การนำเข้าสินค้าผ่านทางรถ ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ระยะเวลาภายใน 7-15 วัน อันดับรองลงมา คือ การรับประกันสินค้า คิดเป็นร้อยละ 28.77 ของการตัดสินใจ โดยกลุ่มตัวอย่างยินดีที่จะตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าจากประเทศจีน หากมีการรับประกันสินค้าในกรณีที่สินค้าจริงไม่ตรงปกยินดีคืนเงิน และอันดับสุดท้ายที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ ลักษณะการชำระเงิน คิดเป็นร้อยละ 21.51 ของการตัดสินใจ โดยรูปแบบการชำระเงินที่ได้รับความสนใจ คือ การไม่เก็บมัดจำล่วงหน้า สินค้ามาถึงแล้วค่อยชำระเงิน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการออนไลน์ยังสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ตามลักษณะของการตัดสินใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยาณี จันทร์หนู และเกษม นันทชัย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภคเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ข้าวโพดพร้อมรับประทาน. ใน รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 (หน้า 476-482). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชานุพงศ์ ตั้งสมบัติสันติ. (2560). การพัฒนาสูตรการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผสมจากสมุนไพรประเทศจีน พร้อมดื่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม. ใน รายงานการประชุม วิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการครั้งที่ 1 (หน้า 1124-1134). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

นิยาวดี ผาคา. (2563). การตัดสินใจซื้อมอเตอร์ของโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้ Conjoint Analysis : คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม. สารนิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยง ภู่วรวรรณ (2564). ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19. สืบค้น จาก https://learningcovid. ku.ac.th/course/?c=7&l=2

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (2565). รายงานงบประมาณการเศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก https://www.fpo.go.th/main/Economic-report/Thailand-Economic-Projections.aspx

Bajaj, A. (2003). Conjoint Analysis: A Potential Methodology for IS Research Analysis. Retrieved from http://www.moph.go.th

Fast Cargo. ( 2021), ขนส่งจากจีนทางรถ ผู้นำเข้าต้องเตรียมตัวอย่างไร. สืบค้นจาก https://www.fast cargologistic.com/car-shipping-from-china/

Green, P. E., Krieger, A. M., & Wind, Y. (2001), Thirty Years of Conjoint Analysis: Reflections and Prospects. Interfaces, 31(3) : S56-S73.

Hair J. F., Black W. C., Babin B. J., Anderson R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: International version. New Jersey, NJ: Pearson.

Hauser, J. R., & Rao, V. R. (2004). Conjoint analysis, related modeling, and applications.

In Marketing Research and Modeling: Progress and Prospects (pp. 141-168). Springer, Boston.

Shippingyou. (2022). นำเข้าสินค้าจากประเทศจีน. สืบค้นจาก

https://shippingyou.com/%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1/

Taobao. (2022). ปัญหาของสินค้าสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า.สืบค้นจาก https://alieasyeasy.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E