การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ปวีณา คำพุกกะ
วรวิทย์ คำศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงลักษณะส่วนบุคคลและภูมิหลังครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะมุ่งอนาคตที่มีอิทธิพลกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและไม่ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3) เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของตนเองและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและไม่ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ 4) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่มีการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและไม่ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการวิเคราะห์จำแนกประชากรคือนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทัง้ หมด 2,248 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ค่า Cronbach’s alpha ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.805 การวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน Chi-Square(X2), t-test และการวิเคราะห์จำแนก (Discriminant Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS for Window ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีเกรดเฉลี่ยสะสม อยู่ระหว่าง 2.01-3.00 มีจำนวนพี่น้อง 2 คน ส่วนใหญ่บิดาและมารดา ประกอบอาชีพรับราชการ ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา อยู่ในระดับปริญญาตรี และมีรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัวอยู่ระหว่าง 10,001-30,000 บาทเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 173 คน ค่าคะแนนเฉลี่ยของอิทธิพลของครอบครัวอิทธิพลของสถาบันการศึกษาและอิทธิพลของบุคคลรอบข้างมีค่าอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 3.51-4.50 ส่วนลักษณะมุ่งอนาคตและอิทธิพลของตนเองมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 2.51-3.50 ลักษณะส่วนบุคคลพบว่าเกรดเฉลี่ยสะสมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

2) ภูมิหลังครอบครัวได้แก่ การศึกษาของบิดา การศึกษาและอาชีพของมารดาและรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน ที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3) การเปรียบเทียบอิทธิพลของตนเองและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ พบว่า อิทธิพลของบุคคลรอบข้างเพียงอย่างเดียวที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4) ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่มีการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและไม่ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คือ อิทธิพลของบุคคลรอบข้าง อิทธิพลของสถาบันการศึกษา ลักษณะมุ่งอนาคต อิทธิพลของครอบครัวและอิทธิพลของตนเอง ได้สมการจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็น Z = -1.857-0.808(Around)+0.582(Institute)+0.447(Future) -0.098(Family)+0.083(Person) โดยสามารถจำแนกนักเรียนที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและไม่ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ถูกต้องร้อยละ 56.1

 

Decision on Attending Ubon Ratchathani University

This research aimed to investigate students’ personal characteristics associated with their decision to attend Ubon Ratchathani University, to study the family background that influenced the decision, to compare the characteristics of future expectations that influenced the decision, and to compare self-influence DON’T UNDERSTAND and environment that influenced their decision to study or not to study at the university. The sample for the study was 344 students from a population of 2,248 Mathayom 6 students in schools under The Secondary Educational Service Area Office 29 in Ubon Ratchathani. The research tools were a questionnaire adapted from relevant research with a Cronbach’s alpha of 0.805, Chi-Square (X2), t-test, and a Discriminant Analysis using SPSS for Window. The research findings showed that most of the respondents were female with a GPA of 2.01-3.00. Most of their parents were government officials with a bachelor degree. The family income was between 10,001-30,000 baht per month. Of the sample, 173 respondents chose Ubon Ratchathani University. The means of the influences of family, educational institution, and people related to the respondents were at a moderate level of 3.51-4.50. The future expectations and self-influence were at a moderate level of 2.51-3.50. Results also revealed that GPA was associated with the students’ choice of attending Ubon Ratchathani University at a statistically significant level of 0.05. It was also shown that features of the family backgrounds associated with university choice which had a statistically significant level of 0.05 were education of the father, education and career of the mother, and overall family income per month. Comparison between the individual self-influence and factors influencing university choice showed that only the influence of other people had a statistically significant level of 0.05. The factors that classified the group of Matthayom 6 students choosing to study and not to study at Ubon Ratchathani University were the influences of people related to the respondents, education, future orientation, family and self-influence. The equation for this classification was Z = - 1.857 0.808(Around)+0.582(Institute) +0.447(Future)-0.098(Family)+0.083(Person). This correctly classified approximately 56.1% of the students choosing and not choosing the university.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)