ความเสมอภาคของบุคคลตามกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ ดีอร่าม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • อรรถชัย วงศ์อุดมมงคล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ความเสมอภาค, บุคคล, กฎหมาย

บทคัดย่อ

หลักความเสมอภาคเป็นหลักการพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นหลักที่ยอมรับว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนามนั้นต่างมีความเท่าเทียมกันและห้ามมิให้รัฐในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานของสิทธิของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐ คือ หลักการปกครองโดยยึดกฎหมายเป็นสาระสำคัญในการปกครอง การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานรัฐจะกระทำการอันใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ในประเทศที่มีการปกครองด้วยหลักนิติรัฐประชาชนจะต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเดียวกันอย่างเสมอภาคไม่มีการเลือกปฏิบัติ การที่รัฐธรรมนูญซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศบัญญัติรับรองสิทธิความเสมอภาคของบุคคลตามกฎหมายว่าจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุใดภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกันย่อมกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมายให้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้นผู้เขียนเห็นว่า ควรเพิ่มเติมถ้อยคำในมาตรา 27 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

References

จรัญ โฆษณานันท์. (2563). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. (2562). ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. (2555). สำรวจหมุดหมายสิทธิมนุษยชนในปีที่ 80 ของรัฐธรรมนูญไทย. CMU Journal of Law and Social Sciences, 5(2), หน้า 95-120.

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์. (2565, ตุลาคม 16). ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ! ย้อนรอยสงครามยาเสพติด ปัญหาฆ่าตัดตอนนับพันศพ. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/scoop/flashback/2527045

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2553). สองมาตรฐาน. สืบค้นจาก http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=1487

บรรเจิด สิงหเนติ. (2561). หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บรรเจิด สิงหเนติ. (2562). หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2537). กฎหมายกับทางเลือกของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2556). คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2564). สิทธิทางรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2565). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พรชัย สุนทรพันธุ์ และณัฐพงศ์ โปษกะบุตร. (2548). หลักกฎหมายเอกชน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรทิพย์ เกยุรานนท์. (2555). สองมาตรฐานใครว่าไม่สำคัญ. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_4/easily.html

วันชัย สุขตาม จิรายุ ทรัพย์สิน และสุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2564). รัฐศาสตร์แนวความคิดพื้นฐานสู่การปฏิบัติในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โฟร์เพช.

สมยศ เชื้อไทย. (2548). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2563). คำวินิจฉัยที่ 21/2546 : เสรีภาพของสตรีในการเลือกใช้นามสกุล. สืบค้นจาก https://occ_th.constitutionalcourt.or.th/article_detail/คำวินิจฉัยที่-212546--เสรีภาพของสตรีในการเลือกใช้นามสกุล

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2565). อินโฟกราฟิกเรื่อง: คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564. สืบค้นจาก https://occ_th.constitutionalcourt.or.th/infographic detail/อินโฟกราฟิกเรื่องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่-202564

The Truly Untrue Stories. (2565). จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ‘เผด็จการ’ สุดเฮี้ยบ ตัวจริงในประวัติศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.luehistory.com/จอมพลสฤษดิ์-ธนะรัชต์-เผด็จการ-ของจริงในประวัติศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-08-2024