การออกแบบเครื่องเรือนจากเส้นพลาสติก โดยการประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านอีสาน

ผู้แต่ง

  • ประทักษ์ คูณทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การออกแบบเครื่องเรือน, เส้นพลาสติก, ลวดลายจักสาน, หัตถกรรมจักสานพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

การออกแบบเครื่องเรือนจากเส้นพลาสติก โดยการประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสาน เพื่อออกแบบเครื่องเรือนจากเส้นพลาสติก โดยประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสาน และเพื่อประเมินความพึงพอใจจากการประยุกต์ใช้ลวดลายที่เหมาะสมในการออกแบบเครื่องเรือน พื้นที่ในการศึกษาลวดลายหัตถกรรมจักสาน คือ กลุ่มหัตถกรรมจักสานบ้านนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร กลุ่มจักสานบ้านหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มจักสานเส้นพลาสติก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายด้านการออกแบบเครื่องเรือน ประกอบด้วยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3 ท่าน ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คือ ลวดลายจากหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้าน จำนวน 9 ลวดลาย และรูปแบบเครื่องเรือนได้รับการออกแบบ จำนวน 6 รูปแบบ พบว่า ลวดลายที่เหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องเรือน จากค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ลายดาวล้อมเดือน x̅=4.45 ลายหมากกระจับ x̅=4.39 และลายสามพัฒนา x̅=4.32 การออกแบบเครื่องเรือนจากการประยุกต์ใช้ลวดลายที่เหมาะสม ผลประเมินตามกรอบการวิจัย 4 ด้าน คือ  ประโยชน์ใช้สอย โครงสร้างและความแข็งแรง รูปร่าง รูปทรง และลักษณะเฉพาะถิ่น มีค่าระดับความเหมาะสมมากที่สุด คือ รูปแบบที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวม x̅=4.53 และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านประโยชน์ใช้สอย x̅=4.48 ด้านโครงสร้างและความแข็งแรง x̅=4.46 ด้านรูปร่าง และรูปทรง x̅=4.40 ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น x̅=4.45

References

ณัฐนรี ขำเอี่ยม. (2557). การออกแบบกระเป๋าจากเส้นพลาสติก ชุมชนบ้านบุ่ง ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

มงคล สมบูรณ์ธนรัชต์. (2565). แผนธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้เทียมเฟอร์นิเจอร์ ที่มีความทนทานต่อสภาพการใช้งานและสภาพอากาศ. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2539). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คอมแพคพริ้น.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2544). มรดกวัฒนธรรมพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

ศาสตรา เหล่าอรรคะ. (2561). การศึกษาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องจักสานหวายจากวัสดุธรรมชาติ และวัสดุทดแทนเชิงพาณิชย์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในภาคอีสาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), หน้า 271-292.

ศักดิ์ชาย สิกขา. (2552). ต่อยอดภูมิปัญญา หัตถกรรมพื้นบ้าน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024