การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในญี่ปุ่น
คำสำคัญ:
การปรับตัวข้ามวัฒนธรรม, วัฒนธรรม, ญี่ปุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในญี่ปุ่น และ 2) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในญี่ปุ่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักเรียนไทยในญี่ปุ่นทั้งหมด 7 คน ผลการศึกษาพบว่า มีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ผ่านขั้นตอนการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมทั้งหมด 4 ขั้นตามทฤษฎี ส่วนกลุ่มตัวอย่างอีก 5 คน เริ่มตั้งแต่ขั้นที่ 2 คือ ขั้นความตระหนกทางวัฒนธรรมเมื่อเข้าสู่ขั้นสุดท้ายของการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมพบว่ามีเพียงแค่ 2 คนเท่านั้นที่รู้สึกปรับตัวได้อย่างกลมกลืน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมพบว่า หากมีลักษณะนิสัยที่สามารถคล้อยตามสถานการณ์ และกล้าเข้าสังคมจะสามารถปรับตัวได้ง่าย ประสบการณ์การสื่อสารกับคนต่างชาติและประสบการณ์ในการเดินทางไปต่างประเทศทำให้มีความมั่นใจในการสื่อสารกับคนต่างวัฒนธรรม ทักษะทางด้านภาษาที่ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารจะทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร จากผลการศึกษาข้างต้นได้เสนอแนะให้ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าสู่สังคมวัฒนธรรมใหม่เตรียมความพร้อมดังนี้ 1) ศึกษาล่วงหน้าเกี่ยวกับวัฒนธรรม และสังคมของประเทศปลายทาง พยายามฝึกฝนทักษะความยืดหยุ่น และการปรับตัวเข้ากับความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2) เพิ่มทักษะทางภาษา และ 3) เข้าร่วมกิจกรรม และเพิ่มโอกาส ในการสื่อสารกับเจ้าบ้านเพื่อลดความตระหนกทางวัฒนธรรม
References
ณัฏฐ์ชุดา ชูตระกูล. (2561). การปรับตัวทางด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทิยา ดวงภุมเมศ และสิรินทร พิบูลภานุวัธน์. (2563). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม: ความสำคัญและแนวทางการศึกษา. ใน สิงหนาท น้อมเนียน (บ.ก.). ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม: ทฤษฎีและการประยุกต์ (หน้า 1-45). นครปฐม: พริ้นเทอรี่.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุนทรียา ไชยปัญหา และอุรารักษ์ ศรีประเสริฐ. (2559). แนวคิด ทฤษฎีวัฒนธรรมการจัดการ: การปรับตัวภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), หน้า 104-111.
Ruben, B. & Stewart, L.P. (1998). Communication and human behavior. (4th ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)