การขยายตัวของรายได้และการเข้าสู่การบริโภคสินเชื่อในยุคดอกเบี้ยสูงของข้าราชการครูก่อนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

ผู้แต่ง

  • วัชรพล ยงวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ข้าราชการครู, ดอกเบี้ยสูง, หนี้สินครู

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการอธิบายเงื่อนไขที่นำมาสู่ปัญหาหนี้สินกลุ่มข้าราชการครูในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของหนี้สินครัวเรือนที่ก่อปัญหาและดำเนินมาอย่างยาวนาน แต่ครูเป็นอาชีพที่ได้การเอาใจใส่สนับสนุนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและโครงการสินค้าสวัสดิการต่าง ๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนี้สินกลุ่มครูเป็นหนี้สินอันเกิดจากพฤติกรรมของครู แต่ไม่อาจมองข้ามได้ว่าหนี้สินเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากกลไกภายในระบบอาชีพที่สนับสนุนให้ครูมีโอกาสและความได้เปรียบในการบริโภคสินเชื่อของสถาบันการเงินได้สะดวก เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงและมีรายได้ที่แน่นอน ทำให้ข้าราชการครูเป็นอาชีพในฝันสำคัญสำหรับผู้ต้องการความมั่นคงจากการประกอบอาชีพ เพื่อรายได้ สวัสดิการ และโครงการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งอาชีพครูที่มีจำนวนอัตรามากและกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ จึงได้รับการดูแลจากภาครัฐเมื่อเกิดปัญหาอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาหนี้สินครูจึงกลายเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อหาช่องทางการแก้ไขอยู่เสมอ การเข้าใจปฐมเหตุของที่มาของการก่อตัวของปัญหาหนี้สินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษา เพื่อนำมาสู่ความเข้าใจต่อปัญหาหนี้สินครูที่ไม่เคยจางหายไปจากการรับรู้ของสังคม

References

กรมวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2503). ภาวะความเป็นอยู่ของครูในภาคศึกษา 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2517). การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.

คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูจันทรเกษม. (2533). ภาพลักษณ์การศึกษาไทย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูจันทรเกษม.

ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). คำแนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์. สืบค้นจาก http://www.fsct.com/ebook/manaul20190619.pdf

เดชา พจนสุนทร. (2541). ครูกับภาวะหนี้สิน. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยดา สมบัติวัฒนา. (2557). รายงานวิจัยเรื่อง แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

เริงชัย มะระกานนท์. (ม.ป.ป). วิกฤตเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เศรษฐกิจการเงินปี 2522. สืบค้นจาก http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv20n2_09.pdf

วิทยา นาทอง. (2508). การสำรวจปัญหาของครูใหม่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2565). จดหมายเหตุคุรุสภา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2566. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13636&filename=socialoutlook_report

สำรวม จงเจริญ. (2546). การศึกษาวิจัยปัญหาหนี้สินข้าราชการครู 2544. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 43(1), หน้า 187-211.

สุทธิสม ดังก้อง. (2536). ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดภาวะหนี้สินของข้าราชการครู : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการครูประถมศึกษาในจังหวัดภาคอีสานตอนบน. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุอนงค์ บัวทอง นวรัตน์ ประทุมตา และกาญจนา บุญส่ง. (2563). แนวทางการบริหารจัดการแก้ปัญหาหนี้สินของครูในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), หน้า 18-28.

สมเกียรติ ฉายโช้น. (2540). ภาวะหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมสหกรณ์.

อุทิศ นาคสวัสดิ์ และคณะนักศึกษาวิชาการวิจัยทางสังคมศาสตร์รุ่นที่ 2. (2506). รายงานการวิจัยเรื่องภาวะการครองชีพของข้าราชการชั้นจัตวา ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ในรอบปี 2505-2506. กรุงเทพฯ: กองวิจัยสังคมศาสตร์ สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024