แนวทางการพัฒนาวัสดุยางจากพาหนะเก่าสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเรือน

ผู้แต่ง

  • ปณต นวลใส คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • กมลวรรณ พงษ์กุล คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ยางรถยนต์เก่า, ผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในอาคาร, รีไซเคิล, การออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในอาคารจากยางพาหนะเก่าเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก แล้วจึงถ่ายทอดองค์ความรู้และการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในอาคารจากยางยานพาหนะเก่าเหลือใช้สู่ธุรกิจออนไลน์ การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและภาคสนามถูกนำมาวิเคราะห์ จากการศึกษาวิจัยมีการนํายางพาหนะเก่าไปบดให้เป็นผงแล้วจึงอัดขึ้นรูปตามแม่พิมพ์ให้คงรูป จากการศึกษาการขึ้นรูปชิ้นงานจากผงยางถูกผสมวัสดุประสานระหว่างยางพาราและกาวลาเท็กซ์ในสูตรที่ 1 ในอัตราส่วน 1:2 1:3 1:4 และ 1:5 พบว่า อัตราส่วนผสมระหว่างผงยางกับวัสดุประสานสูตรที่ 1 ในอัตราส่วน 1:3 สามารถขึ้นรูปชิ้นงานที่แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี ในขณะที่การผสมผงยางกับวัสดุประสานจากกาว PU ในสูตรที่ 2 ที่อัตราส่วนผสมระหว่างผงยางและวัสดุประสานที่อัตรา 1:3 ชิ้นงานที่ได้มีความแข็งแรง ไม่แตกหัก สามารถนำไปใช้รองรับสรีระการนั่งและเป็นแนวทางที่ช่วยลดขยะจากยางยานพาหนะเก่าเหลือใช้ในแหล่งชุมชน การออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้พักผ่อน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ โดยใช้การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบว่า เก้าอี้พักผ่อนรูปแบบมีท้าวแขนขาเอียงได้รับความพึงพอใจมากที่สุด (x̅=4.51, S.D.=0.45) ดังนั้นการทำผลิตภัณฑ์เก้าอี้พักผ่อนแบบมีพนักพิงแบบมีท้าวแขนขาเอียงจึงถูกนําไปถ่ายทอดองค์ความรู้ทำให้เกิดกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนที่ทันสมัย มากกว่านั้นการสร้างช่องทางตลาดออนไลน์ยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักในหลากหลายกลุ่มผู้บริโภค

References

การยางแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์ยางพาราของโลกและของไทย ระหว่างปี 2558-2563. สืบค้นจาก https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/KM2564/Knowledge_Transfer_2564%20/KTสถานการณ์ยางพาราของโลก%20และของไทย%20ระหว่างปี%202558-2563-อธิวีณ์%20แดงกนิษฐ.pdf

จักราวุธ ตันสกุล, ศุภชัย ไทยพุ่ม และนพดล สุดสุย. (2565). ประสิทธิภาพของเศษยางเหลือใช้ที่มีต่อคุณสมบัติทางวิศวกรรม สำหรับงานคันทาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 4(2), หน้า 40-52.

จารุสิทธิ์ เครือจันทร์. (2563). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับของที่ระลึก. สืบค้นจาก http://netra.lpru.ac.th/~weta/w1/index.html

เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตการจัดการและประเมินโครงการ. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ฐปนัท แก้วปาน, สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), หน้า 161-182.

พงษ์ธร แซ่อุย. (2552). เทคโนโลยีการรีไซเคิลยาง. สืบค้นจาก http://mahidolrubber.org/lc_rtec/rubber_technology/2552_recycle_technology_rtec.pdf

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอบป๊าพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. (2550). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศุภิดา โภคินสุวรรณ, แคทลียา ปัทมพรหม, ปิยวิทย์ คุ้มพงษ์ และปิยนุช เหี้ยมทัพ. (2556). การศึกษาสมบัติของกาวร้อนเหลวชนิดต่าง ๆ สําหรับการใช้งานในกระบวนการขัดสไลเดอร์บาร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), หน้า 218-232.

เอกภพ วีระกูล. (2562). การศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จากยางรถยนต์เก่าเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Nunes, A.T., Santos, R.E., Pereira, J.S., Barbosa, R. and Ambrosio, J.D. (2018). Characterization of waste tire rubber devulcanized in twin-screw extruder with thermoplastics. Progress in Rubber Plastics and Recycling Technology, 34(3), pp.143-157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-08-2024