การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมของประชาชน ต่ออนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วงศกร เพิ่มผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, พิธีกรรม, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลังความเชื่อของประชาชนต่ออนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2) ศึกษารูปแบบพิธีกรรมของประชาชนต่ออนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ 3) ศึกษาวิธีการดำรงรักษา สืบทอดความเชื่อ และพิธีกรรมของประชาชนในท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบวิธีวิจัยแบบผสม ประชากรที่ศึกษา จำนวน 46,549 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน การศึกษาเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม มีคุณภาพค่าอัลฟ่า =.862 โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิหลังความเชื่อของประชาชนต่ออนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.74) 2) รูปแบบพิธีกรรมของประชาชนต่ออนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.59) และ 3) วิธีการดำรง รักษา สืบทอดความเชื่อ และพิธีกรรมของประชาชนในท้องถิ่น พบว่า 1) วิธีการดำรง รักษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.83) และ 2) การสืบทอด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.75) การศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ประชาชนให้ความสนใจภูมิหลังความเชื่อ เรื่องประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราช และเป็นที่พึ่งทางจิตใจ รูปแบบพิธีกรรม ประชาชนให้ความสนใจทั้งที่เป็นทางการกับไม่เป็นทางการตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ส่วนวิธีการดำรง รักษา สืบทอด ประชาชนมักจะกระทำตามประเพณีที่บรรพบุรุษปฏิบัติสืบต่อกันมา

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2566). คู่มือการปฏิบัติงาน การบวนการประชาสัมพันธ์. สำนักพัฒนาชุมชน: กระทรวงมหาดไทย.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้าน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2517). โฉมหน้าศักดินาไทย. กรุงเทพฯ: จักรานุกุลการพิมพ์.

ธวัช ปุณโณทก. (2528). วัฒนธรรมพื้นบ้านคติธรรมความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2536). ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5. กรุงเทพฯ: มติชน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญช่วย โชติวํโส (อุ้ยวงค์). (2553). ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในความเชื่อ และพิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญของชาววานรนิวาส. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดวิทยา สิริภทฺโท (เที่ยงธรรม). (2553). ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมการบูชาพระธาตุของชาวพุทธ: กรณีศึกษาพระธาตุหล้าหนองของประชาชนจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551) พิธีกรรมใครว่าไม่สำคัญ. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พระภูเมธ สุเมโธ. (พูนสุวรรณ). (2553). ความเชื่อและพฤติกรรมของชาวพุทธที่มีต่อพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ. (2536). วัฒนธรรมพื้นบ้านคติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สรัญญา แสงลับ. (2546). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าพ่อพระยาศรีโทนของชุมชน ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. (2546). ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมใจ ศรีนวล. (2546). วัฒนธรรมด้านความเชื่อ. วารสารสํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2(2), หน้า 67-75.

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2563). ร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2563.กรุงเทพฯ. ฝ่ายข้อมูลข่าวสารทางราชการ.

วีระพล ภูวนนท์. (2545). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับพระพุทธรูปหลวงพ่อสองพี่น้อง กรณีศึกษาบ้านหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-08-2024