การตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • กัณญาณัฐ เสียงใหญ่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุรศักดิ์ โตประสี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ประกิจ ยาเลิศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจการมีส่วนร่วมทางการเมือง, นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา 3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทาง  การเมืองของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐานและค่า t กับ F-distributions สถิติการถดถอยพหุและสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) อายุเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษาที่อายุต่างกันมีระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่นักศึกษาที่มีเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และคณะที่แตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา โดยใช้สถิติการถดถอยพหุ พบว่า ปัจจัยด้านการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน ความรู้ทางการเมือง และความคิดเห็นทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา

References

กมลพร เสือช้อย. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ณิชกานต์ สอยโว. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นภัส เล็กเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระนุชิต นาคเสโน (โพวิชัย). (2565). การพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสิทธิ์ศักดิ์ ห้วยหงส์ทอง. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาในจังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาณุวัฒน์ มัธยมนันทน์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย:กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณี ปังสกุลยานนท์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2565). รายงานสถิตินักศึกษาภาคปกติระดับปริญญาตรี ประจำภาคเรียนที่ 1/2564. สืบค้นจาก https://aar.bsru.ac.th/images/statistic/current/enrollyear_student/statK64-1.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

โสภา ยอดคีรีย์. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง,มหาวิทยาลัยสยาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024