แนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • อุดมสิทธิ์ อุ่นพัฒนาศิลป์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศมานันทน์ รัตนศิริวิไล สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิชิต สุรดินทร์กูร สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นลินี สุรดินทร์กูร สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีเป็นเสมือนดาบสองคม มีทั้งประโยชน์ที่มหาศาลและภัยที่ตามมาหากใช้แบบผิด ๆ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีการสื่อสารทางโทรศัพท์มาใช้ในการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของมิจฉาชีพ และเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพมากที่สุดนั้นคือ กลุ่มของผู้สูงอายุ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อศึกษา         1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) แนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับรู้ความเสี่ยง มากที่สุด รองลงมา คือ ความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบที่จะเกิดความผิดพลาด และการรับรู้ความสามารถในการจัดการกับภัยคุกคาม และ 2) แนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ติดตามข่าวสารความรู้ด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ การให้ความรู้ข้อกฎหมายในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์กับผู้สูงอายุในครอบครัว เป็นวิธีการป้องกันเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุในครอบครัวที่ต้องทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ การจำกัดวงเงินการทำธุรกรรม ปรับวงเงินสำหรับการชำระสินค้าหรือการโอนเงิน ให้เหมาะสมกับการทำธุรกรรมการเงินในโลกออนไลน์ และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวรวมถึงข้อมูลทางการเงิน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ ธันวาคม 2565 by Looker Studio. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2387

ณัฐพล แสงเลิศศิลปชัย. (2561). การหลีกเลี่ยงภัยคุกคามข้อมูลส่วนตัวจากการใช้เทคโนโลยีสวมใส่. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 4(1), หน้า 70-88.

ธีรศักดิ์ พลพันธ์. (2564). ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลบนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มวัยทำงานตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิภาพร แสงทวี และสมนึก พ่วงพรพิทักษ์. (2560). การวิเคราะห์ความปลอดภัยและความมั่นคงสำหรับระบบธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(1), หน้า 77-90.

พิชญา วัฒนะศิริพล. (2561). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-WALLET) และผลกระทบต่อแนวทางการปรับตัวของธุรกิจค้าปลีก กรณีศึกษา ผู้ให้บริการเอกชนที่มิใช่สถาบันการเงิน. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิยรัฎฐ์ ธนชัยธรณ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยเทคนิคการวัดพฤติกรรมเชิงเส้นแบบหลายกลุ่ม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริรัตน์ ศรีสว่าง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภัยจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัณห์ภพ วิทยาทอง. (2564). ความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางการทำธุรกรรมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 7(2), หน้า 31-44.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นจาก https://opacimages.lib.kmitl.ac.th/medias/b00288215/Thailand%20Internet.pdf

สำนักงานแรงงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสุพรรณบุรี ไตรมาส 2 ปี 2565 เมษายน-มิถุนายน 2565. สืบค้นจาก https://suphanburi.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/55/2022/08/รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสุพรรณบุรี-ไตรมาส-2-ปี-2565.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2565 (ไตรมาส1). กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

AbuShanab, E., & Pearson, J. M. (2007). Internet banking in Jordan the unified theory of acceptance and use of technology (UTAUT) perspective. Journal of Systems and Information Technology, 9(1), pp 78-97.

Chenoweth, L., King, M. T., Jeon, Y. H., Brodaty, H., Stein-Parbury, J., Norman, R., et al. (2009). Caring for Aged Dementia Care Resident Study (CADRES) of person-centred care, dementia-care mapping, and usual care in dementia: a cluster-randomised trial. Lancet Neurology, 8(4), pp. 317–325.

Choi, K-S., & Lee, J. R. (2017). Theoretical analysis of cyber-interpersonal violence victimization and offending using cyber-routine activities theory. Computers in Human Behavior, 73, pp. 394-402.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Ifinedo, P. (2012). Understanding Information Systems Security Policy Compliance: An Integration of the Theory of Planned Behavior and the Protection Motivation Theory. Computers & Security, 31(1), pp. 83-95.

Kline, R. B. (2005). Principle and practice of structural equation modeling. New York: Guilford.

Liang, H. & Xue, Y. (2010). Understanding security behaviors in personal computer usage: A threat avoidance perspective. Journal of the Association for Information Systems, 11(7), pp. 394-413.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement. (p. 90). New York: Wiley & Son.

Patel, S., Halvadia, N. & Patel, V. (2013). A study on impact of perceived risk and online trust on attitude towards internet banking usage in India. Mumbai: Himalaya Publishing House.

Steers, R.M., Mowday, R.T. & Shapiro, D.L. (2004). Introduction to special topic forum: The future of job motivation theory. Academy of Management Review, 29, pp. 379-387.

Youn, S. (2009). Determinants of online privacy concern and its influence on privacy protection behaviors among young adolescents. Journal of Consumer Affairs, 43(3), pp. 389-418.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024