การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี โดยเน้นความร่วมมือของชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุระพงษ์ สีหมอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี, ความร่วมมือ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ต้องการที่จะนำเสนอให้เห็นว่าการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี โดยเน้นความร่วมมือของชุมชนเป็นไปได้อย่างไร แหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่สามารถเป็นองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ควรได้รับความร่วมมือจากชุมชน อาทิ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชน และเยาวชนในชุมชน ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี เป็นด้านที่มีความสำคัญกับชุมชนอย่างมาก ซึ่งเป็นการประยุกต์หลักธรรมคำสอน ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี แบบแผนในการดำเนินชีวิตที่จะก่อให้เกิดความสันติสุขแก่ชุมชน ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากบรรพบุรุษ ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อชุมชนมีการปรับประยุกต์วัฒนธรรม ผสมกลมกลืนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นย่อมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและยังคงดำรงอยู่ซึ่งความถูกต้องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี จึงต้องมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการบันทึกลำดับขั้นตอนในศาสนพิธีที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาให้ความถูกต้อง บันทึกเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และมีการบริหารจัดการภายในชุมชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้มีความยั่งยืนแก่ชุมชนสืบไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมสามัญศึกษา. (2544). การพัฒนาและการใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน และท้องถิ่นเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

กัลยาณี ปฏิมาพรเทพ (2541). แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี สถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

เด่นวิช ชูคันหอม. (2558). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษkประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ, (2553). รายงานการวิจัย การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้าน: กรณีศึกษาวงกลองยาว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคิรีขันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นัยนา อรรจนาทร, อํานวย อรรจนาทร และอรนิต ประนมไพร. (2559). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนในจังหวัดเลย: กรณีศึกษา ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(พิเศษ), หน้า 377–388.

ประเวศ วะสี. (2535). การพัฒนาพลังสร้างสรรค์ขององค์กร (วิธีแก้ปัญหาที่ยากและสลับซับซ้อน). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ภราเดช พยัฆวิเชียร. (2539). พัฒนาการท่องเที่ยวไทยทิศทางที่ยั่งยืน. จุลสารการท่องเที่ยว, 152, หน้า 4-7.

ภูวนิดา คุณผลิน. (2550). การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครแบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มิ่งขวัญ คงเจริญ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย, วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), หน้า 111-127.

พระนำโชค อานนฺโท (ทองดี). (2560). การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืนของ ภาครัฐและภาคประชาชนในตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพรัช วังช่วย. (2548). บทบาทของผู้บริหารเกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2550). การพัฒนากลยุทธ์ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาลีทิพย์ คณานิตย์. (2555). กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านควนหมาก ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุธิดา บุณยาดิศัย. (2558). ภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบของชุมชนบ้านปากประ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

สุเทพ เชื้อสมุทร, บุญรอด อมรทตฺโต, ปริยัติสุวัฒนาภรณ์, พระครู, สังฆวิสุทธิคุณ, พระครู และรัตนากรวิสุทธิ์, พระครู. (2561). รายงานวิจัยเรื่องการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการสวนทุเรียนของเกษตรกร ในจังหวัดระยอง. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภาพรวมภูมิปัญญาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023