ปัญหาการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • วระเดช ภาวัตเวติน สาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมาและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • เด่นคุณ ธรรมนิตย์ชยุต อดีตประธานหลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การรับรู้, การเข้าถึง, สวัสดิการผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย เพื่อศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาและเสริมสร้างรูปแบบในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุ ผลการวิจัย พบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม รวมถึงกฎหมายลำดับรอง คือ พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับกระทรวง ทบวง กรม และแผนงานในระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หน่วยงานที่มีบทบาทในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ได้แก่ ส่วนกลาง คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ส่วนท้องถิ่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากการศึกษาภาคทฤษฎีและการวิเคราะห์แบบสอบถามผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุ ดังนั้น รูปแบบที่เหมาะสมในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุนั้น ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับประชาชน (ผู้สูงอายุ) มากที่สุด ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าไปมีส่วนร่วมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้สูงอายุ โดยมีการเจาะกลุ่มเป้าหมายตามเขตที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ รับผิดชอบ หรือให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เป็นรายบุคคลยิ่งเป็นการดี

References

ขนิษฐา กิจเจา และคณะ. (2558). รายงานวิจัยเรื่อง การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 12 สำนักปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

จีราวัจน์ จันทสิทธิ์, สุวดี อุปปินใจ, พูนชัย ยาวิราช และประเวศ เวชชะ. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเด่นชัย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กรมการปกครอง. (2561, ธันวาคม 31). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร.

เพ็ญศรี ไตรรัตน์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบระบบประกันสังคมเดนมาร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์กับไทย ศึกษากรณีชราภาพ. การศึกษาส่วนบุคคล (individual study). หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 7. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ, กระทรวงต่างประเทศ.

ภูมิ โชคเหมาะ, โชคชัย สุทธา, เวศวิทย์ ชะนะภัย และคะนึงรัตน์ บุศยบุตร. (2552). กฎหมายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรัชญา ทิพย์มาลัย. (2562). พฤติกรรมและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสิทธิของผู้สูงอายุผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภินันท์ จันตะนี. (2550). สถิติและการวิจัยทางธุรกิจ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). การสูงวัยของประชากรไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/12533/16843.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023