โครงการวิจัยศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ศิลปะสาธารณะ, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, กลุ่มเกษตรกรบางบ่อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปะสาธารณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลชุมชนกลุ่มเกษตรกรบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะสาธารณะในพื้นที่ชุมชนกลุ่มเกษตรกรบางบ่อจากอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็นแลนด์มาร์คส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อประเมินความพึงพอใจในศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มเกษตรกรบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจในศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผู้ให้ข้อมูลคือตัวแทนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางบ่อ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ลงรหัสข้อมูล บันทึกภาพ บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยได้สรุปแนวคิดและรูปแบบในการสร้างสรรค์ศิลปะสาธารณะเป็นจิตรกรรมบนผนังแบบเหมือนจริง มีแนวความคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ การทำเกษตรประมงน้ำจืด ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูป และภาพร้านค้าจากเกษตรกรบางบ่อ สร้างสรรค์จิตรกรรมบนผนังบริเวณหน้าอาคารสำนักงานสหกรณ์การเกษตรบางบ่อจำนวน 3 ภาพ ผลการประเมินความพึงพอใจในศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จากตัวแทน 10 คน คือมีระดับความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด และพบว่ามีบุคคลทั่วไปได้มาถ่ายรูป สอบถาม และชื่นชมว่าสวยงาม สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของศิลปะสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารให้กับประชาชนมีรูปแบบการติดตั้งแบบโต้ตอบเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและผู้รับชม ศิลปะสาธารณะภาพจิตรกรรมบนผนังแนวความคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตกลุ่มเกษตรกรบางบ่อนี้จึงสามารถเป็นจุดเช็คอิน และเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้
References
จีรนันท์ เขิมขันธ์. (2561). มุมมองของการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(2), หน้า 162-167.
ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2560, ตุลาคม 31). เกษตรกรที่สมุทรปราการ ปรับอดีตผืนนา มาเลี้ยงปลา-กุ้ง เพียงบ่อเดียว สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี. เส้นทางเศรษฐี. สืบค้นจาก https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_52058
ธนมนต์ ธนรัตนพิมลกุล. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุมชนเกษตรจังหวัดเชียงใหม่สู่การท่องเที่ยวระดับอาเซียน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2560). จิตวิทยาศิลปะ สุนทรียศาสตร์เชิงประจักษ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลลิตา พิริยมานันท์. (2561). โครงการศิลปะสาธารณะ: ทางม้าลายเพื่อชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (สื่อผสม), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง สาธารณศิลป์เพื่อนิเวศสุนทรีย์: กรณีศึกษาการพิมพ์ผ้าสด. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักงานสหกรณ์การเกษตรบางบ่อ จำกัด. (2560). ประวัติสหกรณ์การเกษตรบางบ่อ จำกัด. สืบค้นจาก http://www.sahakornthai.com/bangbo/index.php/about/histrory
Pattarat. (2563, กรกฎาคม 24). ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เทรนด์ที่กำลังมาแรง เมื่อคนเมืองอยากสัมผัสชีวิตชนบทหนี COVID-19. Positioning. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/1289665
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)