การศึกษาและออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วรางคณา กรเลิศวานิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • องอาจ มากสิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การออกแบบ, ตราสัญลักษณ์, สินค้าแปรรูป, ปลานิล, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของกลุ่มแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีต่อตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รู้เกี่ยวกับสินค้าแปรรูปปลานิล กลุ่มแปรรูปปลานิล ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด จำนวน 2 ด้าน ด้านละ 3 ท่าน เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (standardized or structured interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) แบบสอบถามแนวทางการออกแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมที่มีต่อตราสัญลักษณ์สินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตราสัญลักษณ์สินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการเขียนบรรยาย และหาค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภค ให้ความเห็นว่ามีความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̅=4.36) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.52)

References

เกษม กุณาศรี, ชนิตา พันธุ์มณี, สมบัติ สิงฆราช, สุภา สุเทพ และดวงตา สุเทพ. (2560). การเลือกเอกลักษณ์ท้องถิ่นสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยชมพู. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(4), หน้า 86-97.

ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2557). หลักการคิดวิเคราะห์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ พื้นฐานการคิดเชิงพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิสซัพพลาย.

รจนา จันทราสา และภานุ พัฒนปณิธิพงศ์. (2554). การพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ตาลมะพร้าว อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554. (หน้า 342-348). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รสา สุนทรายุทธ. (2564). การออกแบบตราสิินค้้าและบรรจุุภััณฑ์์ผลิิตภััณฑ์์ท้้องถิ่น สู่่การต่่อยอดสิินค้า ของฝากประจำจังหวััด และการพัฒนาหลัักสููตรชุุมชนด้้านการจัดการด้้านการออกแบบและการเพิ่มช่่องทางการตลาด: กรณีีศึึกษา ชุุมชนหนองน้ำใส จัังหวััดสระแก้้ว. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 24(1), หน้า 55-57.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2544). นิเทศศาสตร์กับการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์. (2561). การออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ปลานิลแปรรูปของชุมชนบ้านเดื่อ จังหวัดหนองคาย ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ครั้งที่ 6. (หน้า 1,350-1,359). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อภิวัฒน์ คำสิงห์. (2564, ธันวาคม 1). ปลาเบญจพรรณบ่อดิน ต้นทุนต่ำ รายได้สูง ดูแลง่าย. เทคโนโลยีชาวบ้าน. สืบค้นจาก http://www.technologychaoban.com/fishery-echnology/article_190266

Cath Caldwell. (2019). Graphic Design for Everyone. 8th ed. Dorling Kindersley: US.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024