การสร้างอัตลักษณ์ชุมชนเมืองเก่าฝั่งธนบุรีผ่านเพลงออกภาษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ชนิดา จันทร์งาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, เพลงออกภาษา, กลุ่มชาติพันธุ์ย่านธนบุรี, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเมืองเก่าฝั่งธนบุรีนำมาออกแบบสร้างสรรค์การแสดง ชุด เพลงออกภาษาฝั่งธนบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ย่านเมืองเก่าฝั่งธนบุรี ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการพรรณนา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบผลงานสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้าง อัตลักษณ์ชุมชนเมืองเก่าฝั่งธนบุรีผ่านเพลงออกภาษาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มี 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเก่า ฝั่งธนบุรี 6 ชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทย จีน ลาว มอญ แขก และโปรตุเกส 2) การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ ในรูปแบบเพลงออกภาษา ชุด เพลงออกภาษาฝั่งธนบุรี ที่สะท้อนอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 6 ชาติพันธุ์ นำมาวิเคราะห์และออกแบบตามองค์ประกอบการแสดง 6 องค์ประกอบ 3) การเผยแพร่ผลงานการแสดงเข้าร่วมนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ (International Festival of Arts and Culture 2022) วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 4) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแสดงเพลงออกภาษาฝั่งธนบุรี และการร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานภายในชุมชนในการสนับสนุนการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม รวมถึงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ

References

จุฑาภรณ์ ทองเพ็ง. (2554). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดโสธรวรารามวิหารจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชาวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2547). การวิจัยทางมนุษย์ (บทสรุปจากที่ประชุมนักมนุษยศาสตร์). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2529). ดนตรีวิจักษ์ ความรู้เรื่องดนตรีไทยเพื่อความชื่นชม. กรุงเทพฯ: สยามสมัย จำกัด.

ภูมิพัฒน์ เชติยานนท์. (2546). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์แห่งลุ่มทะเลสาบรัฐฉาน “ยองห้วย-อินเล”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัญจวน ประวัติเมือง. (2556) แนวทางการยกระดับภูมิปัญญา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมล้านนา สู่การบริหารธุรกิจโรงแรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2556). สิบสองภาษา สำเนียงเพื่อนบ้าน [เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ]. ปทุมธานี: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2560). มาตรฐานการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), หน้า 15-16.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2550). การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยังยืนย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวข้องเขตธนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2023