การออกแบบตราสัญลักษณ์ และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสานใส่แก้วน้ำของกลุ่มอาชีพจักสานจากเส้นพลาสติก ชุมชนวัดบุปผาราม เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานใส่แก้วน้ำ, อัตลักษณ์ชุมชนวัดบุปผาราม, กลุ่มอาชีพจักสานจากเส้นพลาสติก, ออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์บทคัดย่อ
การออกแบบนำเสนออัตลักษณ์ เรื่องราว และทรัพยากรอันเป็นเอกลักษณ์เสมือนทรัพยากรวัฒนธรรม ที่อยู่คูกับชุมชนถ่ายทอดผ่านการออกแบบ โดยตราสัญลักษณ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ กลุ่มอาชีพจักสานเลือกประติมากรรมดอกพุดตานบนหน้าบันวิหาร วัดบุปผารามอันเป็นวัฒนธรรมที่จับต้องได้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ประยุกต์กับลักษณะจักสานจากเส้นพลาสติกของกลุ่มอาชีพ มุ่งเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย แบน (flat design) เน้นลายเส้นไม่ซับซ้อน มีน้ำหนักเบา 2 น้ำหนัก 2 สี ผสานที่ว่างรอบวัตถุให้เกิดภาพซ้อนอีกภาพหนึ่ง (negative space) ในส่วนความพึงพอใจด้านการออกแบบฉลาก (แบบที่ 1 และแบบที่ 2) กลุ่มอาชีพ จากผู้ตอบแบบประเมิน 367 คน ด้านกราฟิกบรรจุภัณฑ์ พึงพอใจมากจากสีง่ายต่อการจดจำ (ค่าเฉลี่ย 4.02) สีเหมาะกับผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 3.98), สีตัดกันระหว่างภาพ และตัวอักษร ข้อความอ่านง่าย (ค่าเฉลี่ย 3.87) และสีสันบนบรรจุภัณฑ์สวยงาม สะดุดตา (ค่าเฉลี่ย 3.85) ด้านตราสัญลักษณ์ พึงพอใจมาก ผู้ตอบแบบประเมินเห็นว่าตราสัญลักษณ์ มีเอกลักษณ์ของชุมชนวัดบุปผาราม (ค่าเฉลี่ย 4.08), ตราสัญลักษณ์จดจำง่าย (ค่าเฉลี่ย 4.04) และตราสัญลักษณ์สามารถบอกถึงคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 3.77) ด้านการแสดงข้อมูลบนฉลาก พึงพอใจมาก มีการระบุชื่อผลิตภัณฑ์ชัดเจน เข้าใจง่ายมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.01) และพึงพอใจข้อมูล รายละเอียดผลิตภัณฑ์ครบถ้วน ชัดเจนมาก (ค่าเฉลี่ย 3.91) ส่วนความพึงพอใจต่อฉลากผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพจักสานจากเส้นพลาสติก แบบที่ 1 และแบบที่ 2 ผู้ประเมินพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ แบบที่ 1 มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.98)
References
ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.(2563). จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563. สืบค้นจาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000130/BMA_STATISTICS%202563/ebook%2063.pdf
สุภาดา ศรีสารคาม. (2550). การวางแผนเชิงกายภาพสำหรับการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะระดับชุมชน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาสา ทองธรรมชาติ. (2557). ที่มาและพัฒนาการของลายดอกโบตั๋นในงานศิลปกรรมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
TCDC. (2012). Rolf Jensen กับ The Dream Society, Creative Knowledge. สืบค้นจาก http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)