การจัดหาแรงงานเข้าสู่ธุรกิจรักษาความปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
การจัดหาแรงงาน, ธุรกิจรักษาความปลอดภัย, พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาปัจจุบันและอุปสรรคการจัดหาแรงงานเข้าสู่ธุรกิจรักษาความปลอดภัย (การสรรหาและคัดเลือก) ตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 และ 2) แนวทางการจัดหาแรงงานเข้าสู่ธุรกิจรักษาความปลอดภัย (การสรรหาและคัดเลือก) ตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย กรรมการผู้จัดการบริษัทรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัย และ ผู้ใช้บริการ บริษัทขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาปัจจุบันและอุปสรรคการจัดหา (การสรรหาและคัดเลือก) แรงงานคือบุคลากรที่จะเข้ามาทำอาชีพ รปภ. ที่เข้ามาสมัครงานใหม่ พ.ร.บ. กำหนดไว้ว่าต้องจบการศึกษาภาคบังคับ รปภ. ไม่มีวุฒิการศึกษา จึงมีผลกระทบต่อการขอใบอนุญาต การสมัครงานมีภาระค่าใช้จ่ายมาก เช่น ค่าฝึกอบรม ค่าสอบประวัติอาชญากรรม ค่าขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาต บริษัทกำหนดคุณสมบัติให้เป็นไปตามที่ พ.ร.บ. กำหนด และ 2) แนวทางการจัดหาแรงงานเข้าสู่ธุรกิจการรักษาความปลอดภัย (การสรรหาและคัดเลือก) บริษัท รปภ. ขนาดใหญ่ กลางและเล็ก มีแนวทางการจัดหาแรงงานคล้ายกันคือมีทีมสรรหาพนักงาน ติดต่อสำนักจัดหางานภาครัฐและเอกชน เปิดเพจรับสมัคร ประกาศรับสมัคร การคัดเลือกแรงงานมีกำหนดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ. กำหนด เช่น วุฒิการศึกษา การฝึกอบรม สอบประวัติอาชญากรรม ประวัติพนักงาน มีใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ตรวจสุขภาพ เป็นคนไทย สัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือรัฐต้องมีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงตาม พ.ร.บ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
References
กนกภรณ์ มนุญพร. (2560). ปัญหาคุณสมบัติของพนักงานรักษาความปลอดภัย. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2562). เอกสารรายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 9011106. สืบค้นจาก http://pws.npru.ac.th/kannika/index.php?act=6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype=editor_top&stm_id=3838
ใกล้รุ่ง ระเบียบโอษฐ์. (2558). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจรักษาความปลอดภัยตามแนวพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ดวงกมล เจนจบ. (2559, มีนาคม 14). ธุรกิจ รปภ. ไม่แฮปปี้ พ.ร.บ. ใหม่แค่จัดระเบียบแต่ไม่เท่าเทียม สร้างภาระ-เพิ่มค่าใช้จ่าย. ไทยพีบีเอส. สืบค้นจาก http://news.thaipbs.or.th/content/250978
ทิพย์อาภา เสฐจินตนิน. (2551). การรักษาความปลอดภัยภาคเอกชน: ศึกษาเฉพาะกรณีการกำกับ ดูแลและการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริษัท รักษาความปลอดภัยทีทีพีกรุ๊ป จำกัด. (2561, เมษายน 30). สรุปรายงานจำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: รักษาความปลอดภัยทีทีพีกรุ๊ป.
ปฏิเวศน์ อิสเรศโยธิน และคณะ. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอาชีพรักษาความปลอดภัย. ปริญญาการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต. กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
ปานจินต์ สุทธิกวี. (2561). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย. (2552). คู่มือธุรกิจบริการรักษาความปลอดภัย. สืบค้นจาก http://thaifranchisedownload.com/dl/18_07_Manual_Security.pdf
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). คุณสมบัติของพนักงานรักษาความปลอดภัย. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/229/15.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)