การจัดการรูปแบบและเนื้อหาของนิทรรศการที่สัมพันธ์กับการรับรู้ด้วยพหุสัมผัสของนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์แก้วเซี่ยงไฮ้

ผู้แต่ง

  • หลี่ หลินหลิน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุริยะ ฉายะเจริญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุชาติ เถาทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

นิทรรศการ, การรับรู้, พหุสัมผัส, พิพิธภัณฑ์แก้วเซี่ยงไฮ้

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์การจัดการพหุสัมผัสของนิทรรศการที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แก้วเซี่ยงไฮ้ โดยเปรียบเทียบการจัดแสดงนิทรรศการในด้านรูปแบบและเนื้อหาของนิทรรศการที่สัมพันธ์กับการรับรู้ด้วยพหุสัมผัสของ 1) นิทรรศการชาโดว์ออฟยัวชาโดว์ 2) นิทรรศการ คัลเลอร์แล็บ: กรีน และ 3) นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์แก้วสำหรับเด็ก ซึ่งจากการวิเคราะห์ พบว่า รูปแบบทางกายภาพของนิทรรศการมีลักษณะที่แตกต่างไปตามเนื้อหาและการออกแบบนิทรรศการ แต่มีลักษณะร่วมคือการเน้นไปที่เทคโนโลยีการสร้างสรรค์แก้วที่เป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่มีการสร้างสรรค์มาอย่างยาวนาน ส่วนเนื้อหาของนิทรรศการมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแนวความคิดของภัณฑารักษ์เป็นตัวแปรสำคัญ โดยแต่ละนิทรรศการมีการนำเสนอที่สอดคล้องกับความหมายของการเป็นพิพิธภัณฑ์แก้ว และการรับรู้ด้วยพหุสัมผัสของแต่ละนิทรรศการมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบทางกายภาพ เนื้อหาของนิทรรศการ และกลุ่มเป้าหมายของผู้ชม โดยนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์แก้วสำหรับเด็กจะเน้น การจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระตุ้นการรับรู้แบบพหุสัมผัสมากที่สุด ซึ่งสิ่งนี้สอดคล้องกับการจัดนิทรรศการที่เน้นไปที่การที่ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมกับพื้นที่ในการจัดนิทรรศการ อันเป็นแนวทางสำคัญในด้านการจัดการศิลปกรรมในยุคปัจจุบัน

References

Arch Daily. (2021). Kids Museum of Glass/Coordination Asia. Retrieved from https://www.archdaily.com/966591/kids-museum-of-glass-coordination-asia

Ackerman, D. (1990). A Natural History of the Senses. New York: Random House.

Lakoff, G & Johnson, M. (1999). Philosophy in the Flesh: The Embodied Mind and Its Challenge to Western Thought. New York: Basic Books.

International Council of Museums. (2022). Museum Definition. Retrieved from https://icom.museum/

Kids Museum of Glass. (2023). Kids Museum of Glass. Retrieved from http://www.shmog.org/visit/spaces/kmog/

Merleau-Ponty, M. (2005). Phenomenology of Perception. New York: Taylor and Francis e-Library.

Museum of Glass. (2023). About Museum of Glass. Retrieved from https://www.museumofglass.org/

Museum of the world. (2023). Shanghai Museum of Glass. Retrieved from http://museu.ms/museum/details/15846/shanghai-museum-of-glass

Schmitt, B. H. (1999). Experiential Marketing: How to Get Customers to Sense, Feel, Think, Act, Relate. New York: Simon & Schuster.

Shanghai Museum of Glass Annual Report. (2021). Exhibition: Shanghai Museum of Glass Annual Report 2021. Shanghai: Shanghai Museum of Glass.

Shanghai Museum of Glass. (2023). Shanghai Museum of Glass. Retrieved from http://www.shmog.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2023