ประเทศไทยกับการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (HCCH)

ผู้แต่ง

  • รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, ที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, ผลกระทบต่อประเทศไทย

บทคัดย่อ

การที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลHCCH ผ่านการยื่นตราสารยอมรับธรรมนูญของ HCCH (Instrument of Acceptance) ที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Hague Conference on Private International Law: HCCH) โดยเป็นสมาชิกในลำดับที่ 88 นั้นการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้ประเทศไทยต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับการเข้าเป็นภาคีในสมาชิก หากประเทศไทยไม่ทำตามพันธกรณีที่เป็นภาคีจะทำให้ประเทศไทยขาดความน่าเชื่อถือในประชาคมโลก และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ เศรษฐกิจ สังคมของประเทศไทยต่อประชาคมโลก

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2564). ไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 88 ของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเพื่อร่วมกำหนดทิศทางกฎหมายระหว่างประเทศและดูแลกิจกรรมข้ามพรมแดนของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นจาก https://www.mfa.go.th/th/content/thailand-hcch-member-law?cate=5d5bcb4e15e39c306000683d

กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส. (2562). ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยการประสานกฎหมาย: ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส. (2563). แนวทางการพิจารณาและเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายของประเทศไทยสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยข้อตกลงเลือกศาล ค.ศ. 2005 : ศึกษาวิเคราะห์มาตราในเชิงเนื้อหาเป็นรายมาตรา (มาตรา 1-15). วารสารนิติศาสตร์, 49(2), หน้า 213-250.

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2565). รายงานการประชุมความคิดเห็นเพื่อพิจารณากรอบดำเนินงานภายหลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล. ใน โครงการงานวิชาการรำลึก TU Law Conference ปาฐกถานิติศาสตร์ ชุดศาสตราจารย์คนึงฦๅไชย ประจำปี 2565. (หน้า 28-39). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดวงเด่น นาคสีหราช. (2561). หลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ดวงเด่น นาคสีหราช. (2563). หลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นพนิธิ สุริยะ. (2564). กฎหมายระหว่างประเทศเล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 51.

HCCH. (1961). Convention Abolishing the Requirement of Legalization for Foreign Public Documents – Apostille Convention. Retrieved from https://www.hcch.net/en/instruments/conventions/specialised-sections/apostille

HCCH. (1965). Convention on the Service Abroad of Judicial and Extrajudicial Documents in Civil and Commercial Matters – Service Convention. Retrieved from https://www.hcch.net/en/instruments/conventions/specialised-sections/service

HCCH. (2022). Conventions and other Instruments. สืบค้นจาก https://www.hcch.net/en/instruments/conventions

HCCH. (2022). HCCH MEMBERS. สืบค้นจาก https://www.hcch.net/en/states/hcch-members

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-04-2023