สุขภาวะของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
สุขภาวะผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ 4 จังหวัด ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง โรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไข่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 300 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยสุขภาวะ 6 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะด้านร่างกาย สุขภาวะด้านจิตวิญญาณ สุขภาวะด้านปัญญาและการรู้คิด สุขภาวะด้านสังคม สุขภาวะด้านอารณ์ สุขภาวะทางด้านจิตใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าความเชื่อมั่น (reliability) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (validity) ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาวะของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=3.82, S.D.=0.65) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขภาวะด้านจิตใจ (x̅=4.07, S.D.=0.67) และ 2) แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า มีการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร โดยนำแนวคิดศาสตร์พระราชา “เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
References
กฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ. (2560, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 143 ตอนที่ 97 ง, หน้า 49-53.
กิตติพงษ์ โคตรจันทึก, พระศิวกร ปญฺญาวุฑฺโฒ และพระสมุห์บัว ทีปธมฺโม. (2563). เศรษฐศาสตร์การเมืองอาเซียน: ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมอาเซียน ตามหลักเศรษฐศาสตร์แบบพึ่งพา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(2), หน้า 288-303.
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2563, 4 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอน พิเศษ 19 ง. หน้า 30.
จักรแก้ว นามเมือง. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุ: ต้นแบบการจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุ.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา. พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จักรพันธ์ พรมฉลวย. (2564). การศึกษาสุขภาวะของผูสูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 4(1), หน้า 79-80.
ชวาลา ไชยฤทธิ์. (2561). การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิบัติงานชุมชนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรทิพย์ สุขอดิศัย และคณะ. (2557). วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1). หน้า 90-91.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน. (2561). “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน” สืบค้นจาก http://thaiembdc.org/th/2017/11/24/pmnbnov24-2017/
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2563). โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). ข้อมูลจำนวนประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีระยอง และฉะเชิงเทรา เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3
อุบลทิพย์ ไชยแสง นิวัติ ไชยแสง และลุกมาน มะรานอ. (2563). การศึกษาสุขภาวะทางจิต และมุมมองในการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(1), หน้า 317.
Adams, T., Bezner, J., & Steinhardt, M. (1997). The Conceptualization and Measurement of Perceived Wellness: Integrating Balance Across and within Dimensions. American Journal of Health Promotion, 11(3), pp. 208-18.
Ryff, C.D. (2014). Psychological Well-Being Revisited: Advances in the Science and Practice of Eudaimonia. Psychther Psychosom, 83(1), pp. 10-28.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607–610.
Mossey, J.M., & Shapiro, E. (1982) Self-Rated Health: A Predictor of Mortality among the Elderly. American Journal of Public Health, 72, pp. 800-808.
Naidoo, J., & Will, J. (2009). Founddation for Health Promotion. Chaina: Bailliere Tindall.
Wagnild, G., & Young, H.M. (1990). Resilience among Older Women. IMAGE: Journal of Nursing Scholarship, 22(4), pp. 252–255.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)