การตัดสินใจในการเลือกสถานประกอบการ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุเทวี คงคูณ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, การเลือกสถานประกอบการ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

บทคัดย่อ

วิจัยการตัดสินใจในการเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อทราบข้อมูลทั่วไปของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified radom sampling) นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จาก 4 คณะ ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จำนวน 267 คน เครื่องมือใช้เก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ อัตราร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สังกัดคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีระดับเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.00-2.99 สถานประกอบการที่ต้องการไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นรูปแบบราชการ/รัฐวิสาหกิจ ปัจจัยในการเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการจูงใจ ด้านการรับรู้ และด้านทัศนคติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แนวคิดในการเลือกอาชีพของนักศึกษา ด้านเป้าหมายและด้านความเชื่อค่านิยม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัญหาและอุปสรรคในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด การเดินทางไปสถานประกอบการที่ไกลจากที่พัก ขาดความพร้อมในการฝึกงาน และการเลือกสถานประกอบการตามเพื่อน โดยไม่คำนึงถึงความสามารถของตนเอง

References

นววรรณ ถกจัตุรัส. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นเรนทร์ฤทธิ์ ไตรภูมิพิทักษ์. (2564). รายงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่บ้านของบุคลากร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเลย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2548). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา4 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปณัสยา พิมพ์กลาง. (2562). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. (หน้า 443-450). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราวดี อักษรพิมพ์, ฑิตฐิตา สินรักษา และสลิลา วงศ์กระจ่าง. (2560). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงานก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพจริง สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. (หน้า 61). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

อดิศา เบญจรัตนานนท์. (2560). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), หน้า 184-194.

อรพรรณ ฤทธิ์มั่น และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2560). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 98/2560. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/websm/2017/feb/098.html

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale : Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-04-2023