สถานการณ์การใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ ในภาษามลายูถิ่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • วาริด เจริญราษฎร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์, ภาษามลายูถิ่นสตูล, สถานการณ์การใช้ภาษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ ในภาษามลายูถิ่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยพิจาณาจากการแปรศัพท์ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ จำนวน 51 หน่วยอรรถ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ผู้บอกภาษา ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามระดับอายุ กลุ่มละ 10 คน รวมผู้บอกภาษา 30 คน ได้แก่ กลุ่มสูงอายุ กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มวัยเด็ก ผลการวิจัยพบว่า ผู้บอกภาษากลุ่มสูงอายุใช้ศัพท์เก่า คือ รูปแปรภาษามลายูถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การใช้ศัพท์เก่าร่วมกับศัพท์ใหม่ที่เป็นรูปแปรภาษาไทยถิ่นใต้ ผู้บอกภาษากลุ่มวัยกลางคนใช้ศัพท์เก่า คือ รูปแปรภาษามลายูถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การใช้ศัพท์เก่าร่วมกับศัพท์ใหม่ที่เป็นรูปแปรภาษาไทยถิ่นใต้ และผู้บอกภาษากลุ่มวัยเด็กใช้ศัพท์เก่า คือ รูปแปรภาษามลายูถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การใช้ศัพท์เก่าร่วมกับศัพท์ใหม่ที่เป็นรูปแปรภาษาไทยมาตรฐาน กล่าวได้ว่าการใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ ในภาษามลายูถิ่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล เกิดการแปรศัพท์จากการสัมผัสภาษาถิ่น โดยความเข้มข้นของการสัมผัสภาษานี้มีปัจจัยทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่มีนโยบายการธำรงภาษามลายูถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม อาจทำให้เกิดรูปแปรที่เป็นภาษาถิ่นในระหว่าง และภาษาถิ่นลูกผสมในพื้นที่พหุวัฒนธรรมขึ้นได้ในอนาคต

References

โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา. (2551). พจนานุกรมมลายูถิ่นปัตตานี–ไทย ไทย - มลายูถิ่นปัตตานี. ปัตตานี: โรงพิมพ์มิตรภาพปัตตานี.

ฉันทัส ทองช่วย. (2526). รายงานการวิจัยเรื่องระบบเสียงภาษาไทยถิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน จังหวัดสตูล. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2559). การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตามอายุ: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา อาภากุล. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาพื้นที่ของภาษามลายูถิ่น ภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป และภาษาไทยถิ่นตากใบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยใช้เกณฑ์การกระจายศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ยูทากะ โทมิโอกะ. (2552). ทัศนคติต่อภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยอีสานที่มีอายุต่างกัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาริด เจริญราษฎร์. (2561). การแปรและภาพสะท้อนวัฒนธรรมของคำศัพท์หมวดตัดในภาษาไทยถิ่นใต้และภาษามลายูถิ่นปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาริด เจริญราษฎร์. (2564). การแปรศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นยะลาหมู่บ้านตังกาเด็ง: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏธนบุรี, 4(1), หน้า 35-50.

ศรีวรา ผาสุขดี. (2561). ปรากฏการณ์พหุนัยของชุดคำกริยาเคลื่อนที่ด้วยเท้าในภาษารัสเซีย: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา ลาดพร้าว.

Crystal, D. (2000). Language Death. Cambridge: Cambridge University Press.

Ismail, H. (1981). Sejarah Perkembangan Bahasa Kebangsaan Kita. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka.

Labov, W. (1972). Sociolinguistic Pattern. Philadephia: University of Pennsylvania Pressand Oxford Blackwell.

Thomason, S.G. (2001). Language Contact : An Introduction. Edimburgh: Edimburgh University Press.

Trudgill, P. (1986). Dialects in Contact. Oxford: Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022