โอ่งมังกรราชบุรี: เครื่องปั้นดินเผาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่
คำสำคัญ:
โอ่งมังกรราชบุรี, จังหวัดราชบุรี, อัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่, เครื่องปั้นดินเผาบทคัดย่อ
โอ่งมังกรราชบุรีเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากดินเหนียวสีน้ำตาลแดงสลับจุดขาว หรือดินสีมันปูที่พบในเขตพื้นที่อำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ทั้งประเภทเคลือบและไม่เคลือบด้วยน้ำเคลือบขี้เถ้า มีการตกแต่งลวดลายเป็นลายมังกรหรือลายอื่น ๆ ทั้งแบบเรียบและแบบนูน รวมทั้งที่ไม่มีการตกแต่งลวดลาย ซึ่งผลิตตามกรรมวิธีและขั้นตอนดั้งเดิมแบบจีนที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ผนวกเข้ากับภูมิปัญญาของคนราชบุรี อัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ของโอ่งมังกรราชบุรี ประกอบด้วย 1) วัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ 1.1) ดินสีมันปู และ 1.2) น้ำเคลือบขี้เถ้า ซึ่งใช้วิธีการทำน้ำเคลือบแบบโบราณ มีส่วนผสมของขี้เถ้า เลน และออกไซด์ของเหล็กที่ทำให้เกิดสีแดง และ 2) กระบวนการผลิต ได้แก่ 2.1) การเตรียมดิน 2.2) การขึ้นรูป ซึ่งมีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนและการขึ้นรูปด้วยวิธีการขด 2.3) การเขียนลวดลาย ซึ่งวัสดุที่ใช้เขียนลายจะเป็นดินเหนียวผสมกับดินขาวนวดจนเนื้อดินนิ่มเรียกว่า ดินติดดอก รวมทั้งลายที่เขียนกันมาแต่โบราณ คือ ลายมังกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโอ่งในจังหวัดราชบุรี 2.4) การเคลือบ และ 2.5) การเผา ซึ่งใช้เตาเผาที่เป็นเตาขนาดใหญ่ เรียกว่า เตามังกร
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2563). ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โอ่งมังกรราชบุรี. สืบค้นจาก https://ipthailand.go.th/images/3534/GI/2563/GI44.pdf
พิชชา ทองขลิบ. (2564). โอ่งมังกร. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=245
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน). (2555). การดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง. กรุงเทพฯ: แอสดีคอนคอร์ปปอเรชั่น.
สมาคมเครื่องเคลือบดินเผาราชบุรี. (2554). โอ่งมังกรราชบุรี ภูมิปัญญาสามแผ่นดิน. ราชบุรี: ธรรมรักษ์.
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2561-2564 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2562).ราชบุรี: สำนักงานจังหวัดราชบุรี.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดราชบุรี. (2562). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับสมาชิกผู้ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โอ่งมังกรราชบุรี. ราชบุรี: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดราชบุรี.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. (2558). มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. สืบค้นจาก https://www.soc.go.th
Smartborn Toys & Crafts. (2565). ประวัติโอ่งมังกร. สืบค้นจาก https://www.smartbombcrafts.bizarticle/63/ประวัติโอ่งมังกร-ของเอกลักษณ์วิถีไทย-ของหัตถศิลป์ไทย-เมืองราชบุรี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)