บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ยุภาวรัตน์ ขันตีกรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การสื่อสารเพื่อการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สมุทรปราการ และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการจําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และขนาดของสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 จํานวน 2,760 คน ผู้วิจัยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamane) ในการคํานวณ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ (Cronbach’s alpha) 0.89 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี ของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สมุทรปราการ เมื่อจําแนกตามขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเมื่อจําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

Author Biography

ยุภาวรัตน์ ขันตีกรม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (2557-2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กวินตรา ซวนลิ่ม. (2560). ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ธนิต เยี่ยมรัมย์. (2561). สภาพการดําเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ปิยะนุช บัวชุม. (2561). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.

ภูเบศ นิราศภัย. (2562). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วศิณี สืบสุทธา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

วัชราภรณ์ คงเกิด. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศุภสิริ พัฒนภักดี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สงานเทศบาลเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). จำนวนผู้บริหารและครูแยกตามโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุพิมล ทรงประดิษฐ์. (2554). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

เอกราช เครือศรี, โกวิท วัชรินทรางกูร และกระพัน ศรีงาน. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 32. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 2: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. (หน้า 202-210). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

Hennessy, H., & Warrakote. (2010). Teacher Factors Influencing Classroom Use of ICT in Sub-Saharan Africa. Master's Thesis Cambridge Cambridge University, England.

Soonsan, N., & Sukahbot, S. (2019). Testing the Role of Country and Destination Image Effect on Satisfaction and Revisit Intentions Among Western Travellers. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 8(4), pp. 1-14.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022