การใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 และคำสรรพนามบุรุษที่ 2: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คำสำคัญ:
คำสรรพนามบุรุษที่ 1, คำสรรพนามบุรุษที่ 2, นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 และคำสรรพนามบุรุษที่ 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ข้อมูลที่ใช้คือแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด โดยพิจารณาปัจจัยทางสังคม ได้แก่ เพศของผู้พูด อายุของผู้ฟัง ความสนิทสนม และเพศของผู้ฟัง ผลการศึกษาพบว่า ผู้พูดเพศชายใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 จำนวน 9 คำ ได้แก่ “ผม ชื่อ เรา กู พี่ นี่ พี่+ชื่อ ฉัน และเขา” ส่วนเพศหญิงใช้จำนวน 10 คำ ได้แก่ “เรา หนู พี่ ชื่อ เขา กู นี่ ฉัน น้อง และพี่+ชื่อ” ตามลำดับ และผู้พูดเพศชายใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 2 จำนวน 15 คำ ได้แก่ “ชื่อ มึง คุณ พี่ น้อง เธอ ไอ้+ชื่อ พี่+ชื่อ แก อี+ชื่อ น้อง+ชื่อ หนู นาย เจ๊ และเรา” ส่วนเพศหญิงใช้จำนวน 16 คำ ได้แก่ “ชื่อ เธอ พี่ แก พี่+ชื่อ น้อง น้อง+ชื่อ มึง หนู คุณ เจ๊ ไอ้+ชื่อ อี+ชื่อ แม่ ตัวเอง และนาย” ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าการเลือกใช้คำบุรุษสรรพนามของผู้พูดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตามปัจจัยทางสังคมต่าง ๆ โดยปัจจัยด้านอายุของผู้ฟังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือความสนิทสนม และเพศของผู้ฟัง ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของอายุหรือความอาวุโสในสังคมและวัฒนธรรมไทย
References
กุลธิดา กลิ่นเฟื่อง. (2544). การใช้คำอ้างถึงบุรุษที่ 1 และคำลงท้ายในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุไรรัตน์ หาญไชโยภูมิ. (2538). การใช้คำเรียกขานของข้าราชการทหารบกไทยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2550). คำเรียกขานของพระสงฆ์ไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปัทมวรรณ วงศ์ขจร. (2542). การใช้คำเรียกขานของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมหาณัฐพล โพไพ. (2545). ศึกษาคำเรียกขานในพระพุทธศาสนา: กรณีจังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภูมิใจ บัณฑุชัย. (2549). คำเรียกขาน คำบุรุษสรรพนามที่ 1 และ คำบุรุษสรรพนามที่ 2 ของผู้ขายในห้างสรรพสินค้า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เมธินี อังศุวัฒนากุล. (2559). คำเรียกขานที่ใช้ในความสัมพันธ์แบบคู่รัก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร วัฒนธรรม. (2544). การใช้คำเรียกขานของผู้ประกอบการค้า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โสมพิทยา คงตระกูล. (2539). การจำแนกความต่างตามเพศในการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และคำลงท้ายบอกความสุภาพ ของนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Palakornkul, Angab. (1972). A Sociolinguistics Study of Pronominal Strategy in Spoken Bangkok Thai. Unpublished Doctor’s Dissertation, Linguistics, University of Texas.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)