การออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมลาเพื่อเพิ่มมูลค่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ตวงรัก รัตนพันธุ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เมธิรา ไกรนที คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • วชิรวิทย์ บัวขาว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การออกแบบบรรจุภัณฑ์, ขนมลา, เพิ่มมูลค่า

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขนมลาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมลา เพื่อเพิ่มมูลค่าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินผลงานการออกแบบด้วยการหาค่าเฉลี่ย สำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบบรรจุภัณฑ์เดิมและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการขนมลาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 กลุ่ม พบว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ไม้กันกระแทกการผนึกไม่ได้ปกป้องผลิตภัณฑ์ภายในไม่มีฉลากสินค้าและข้อมูลอย่างครบถ้วน ผู้ประกอบการผลิตขนมลาอยู่ 4 ชนิด คือ ลาแผ่น ลาพับ ลากรอบ และลางู ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าซอม จำนวน 10 คน เพื่อประมวลผลความต้องการในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ แล้วจึงกำหนดทิศทางการออกแบบเพื่อออกแบบภาพร่าง ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน ทำการประเมินผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ 2 รูปแบบ คือบรรจุภัณฑ์ขนมลากลมเกลียว และบรรจุภัณฑ์ขนมลาเกลียวใจ ทำการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภค 100 คน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ทดลองจำหน่ายหลังเข้าร่วมโครงการระยะเวลา 7 เดือน มีรายได้รวม 85,504.80 บาท เฉลี่ยเดือนละ 12,214.97 บาท มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชคิดเป็นร้อยละ 92.93 ของรายได้รวม และมีการกระจายออกนอกพื้นที่คิดเป็นร้อยละ7.07 ของรายได้รวมทั้งหมด

References

เกศแก้ว ประดิษฐ์. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้องพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาที่มีผลต่อการตอบรับในเชิงพาณิชย์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านบอฆอ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2), หน้า 127-138.

กัญญารัตน์ แห้วเพ็ชร์, สุทธิดา ถิตย์ไชย และพิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2561). ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการ ของตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 1(2), หน้า 9-19.

ชื่นธิวา อุปการ. (2555). การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำขนมลาบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลหูร่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ประชิด ทิณบุตร และนรรชนภ ทาสุวรรณ. (2561). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2. จันทรเกษมสาร, 24(47), หน้า 126-141.

ภริมา วนิธาสถิตกุล และพระมหาจิรฉันท์ จิระเมธี. (2558). คติชนวิทยา : ความเชื่อกับสังคมไทย. วารสาร มรจ. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 1(1), หน้า 31-44.

วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. Bu Acdemic Review, 19(1), หน้า 109-127.

วิชนาถ ทิวะสิงห์. (2560). การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(2), หน้า 10-22.

สุดาวรรณ์ มีบัว. (2560). ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเมืองนคร. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9(2), หน้า 220-229.

อมรินทร์ ทีวี. (2565, มกราคม 3). วิสาหกิจชุมชนบ้านท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช | ของเด็ดเอ็ดตะโร. [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=M-b0fogjqsU

Rundh, B., (2009). Packaging design: creating competitive advantage with product packaging. British Food Journal, 111(9), pp. 988-1002.

Svanes, E., Vold, M., Moller, H., Pettersen, M.K., Lorsen, H., & Hanssen, O.J., (2010). Sustainable packaging design: a holistic methodology for packaging design. Packaging Technology and Science an International journal, 23(3), pp. 161-175.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022