การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของนักการเมืองท้องถิ่น และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ผู้แต่ง

  • ลลิตชุ ฉันทธนไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ, ระบบอีอ๊อกชั่น, ระบบอีบิดดิ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของนักการเมืองท้องถิ่นและธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของนักการเมืองท้องถิ่นและธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และ 2) เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงของการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของนักการเมืองท้องถิ่นและธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจากระบบอีอ๊อกชั่น (e-Auction) เป็นระบบอีบิดดิ้ง (e-Bidding) งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน แล้วใช้การสังเกตควบคู่การสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้แบ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหาร จำนวน 10 คน 2) ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่านักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ มิได้มาจากครอบครัวของนักการเมือง ไม่มีระบบเครือญาติทางการเมืองให้การสนับสนุน การสร้างเครือข่ายทางเมืองจึงเริ่มต้นหลังจากเข้าสู่เส้นทางการเมืองแล้ว การเปลี่ยนระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ส่งผลต่อการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่อาศัยความได้เปรียบจากระบบอีอ๊อกชั่น (e-Auction) เอื้อผลประโยชน์ให้แก่กันได้ เมื่อมีการเปลี่ยนเป็นระบบอีบิดดิ้ง (e-Bidding) สัดส่วนเครือข่ายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่มีความสัมพันธ์กับนักการเมืองท้องถิ่นลดลง มีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่ระบบอีบิดดิ้ง (e-Bidding) ไม่ได้ทำให้การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจนั้นหมดไป การแสวงหา ค่าเช่าทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ เพียงแต่มีวิธีการที่เปลี่ยนไป ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ยังมีระบบการจัดซื้อ จัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้วิจัยเห็นควรเป็นข้อเสนอให้ศึกษาวิจัยว่า ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงสามารถแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจได้หรือไม่

References

จิรภัทร นิรินทร์. (2559). บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ต่อการตัดสินใจกำหนดนโยบายรัฐบาลไทย: กรณีศึกษาการผลักดันร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตัดต่อทางพันธุกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุไลรัตน์ ผดุงกิจ และภานุมาศ ชาติประเสริฐ. (2563). ปัญหาการปฏิบัติงานในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(2), หน้า 240-253.

ธานี ชัยวัฒน์. (2549). การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในประเทศไทย. ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร (บ.ก.). การต่อสู้ของทุนไทย1: การปรับตัวและพลวัต (หน้า 373-401). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

อโณทัย วัฒนาพร และพินสุดา วงศ์อนันต์. (2561). การวางเครือข่ายทางการเมืองขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง: การสำรวจเบื้องต้น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 16(1), หน้า 73-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022