ศิลปะชุมชนชายฝั่งบนพื้นที่สาธารณะ: ภูมิทัศน์ใหม่จากการ สร้างสรรค์ทัศนศิลป์แบบมีส่วนร่วมพื้นที่ความทรงจำทุ่งตึก
คำสำคัญ:
ศิลปะชุมชนชายฝั่ง, พื้นที่สาธารณะ, ความทรงจำทุ่งตึกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สาระสำคัญจากข้อมูลศิลปะชุมชนชายฝั่งบนพื้นที่สาธารณะ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุมชนจากพื้นที่ความทรงจำทุ่งตึกและเพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดศิลปะชุมชน โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบปฏิบัติการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ ใช้การเก็บข้อมูล และศึกษาจากการทบทวนเอกสารและงานภาคสนาม ได้เเก่ ข้อมูลสิ่งเเวดล้อม ข้อมูลวิถีชีวิต ข้อมูลจากศิลปกรรม และเก็บข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จากประชาชนในพื้นที่ ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในประเด็นความเห็นต่อพื้นที่ ความเข้าใจด้านศิลปะชุมชน จากการศึกษาพบว่า ศิลปะชุมชนบนพื้นที่สาธารณะ มีกลไกที่สำคัญคือ การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชากรในพื้นที่ ทั้งข้อมูล ความเห็น และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการสร้างสรรค์งานศิลปะ รวมถึงการนำเสนอกลไกทางศิลปะชุมชนไปสู่นโยบายของภาครัฐ เพื่อเป็นการสร้างการยอมรับและสร้างคุณค่าจากผลงาน ผลจากการวิจัยสร้างสรรค์พบว่า ผลงานศิลปะชุมชนถ่ายทอดเนื้อหา ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนภายใต้อารยธรรมเก่าบนพื้นฐานความงามทางสิ่งแวดล้อม โดยผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบงานศิลปะชุมชน ผ่านการรื้อสร้างของภาพความงามต่าง ๆ จากข้อมูล และสร้างทวนซ้ำ จนได้รูปภูมิทัศน์ใหม่ของกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะชุมชน จากผลของการศึกษาสามารถนำมาอภิปรายผล จำนวน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาษา 2) การมีส่วนร่วมของศิลปะชุมชนชายฝั่ง 3) พื้นที่และเวลา และ 4) นโยบายสาธารณะ
References
ถนอม ชาภักดี. (2563). ศิลป์สถานะ state of the art; on thai contemporary art. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.
บุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน์. (2550). ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์
ศูนย์ข่าวนโยบายสาธารณะ. (2562, 17 กันยายน). ประติมากรรมบนที่สาธารณะ: ฝาท่อริมคลองโอ่งอ่าง กำลังจะเปลี่ยนไป. สำนักข่าวอิสรา. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/article/ thaireform/thaireform-documentary/80543-bk80543.html
วัลย์ลิตา อยุทธ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และศิลปะของนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภณิพล อภิชิตสกุล. (2561). นโยบายศิลปะสาธารณะ 1% โดยรัฐบาลไต้หวัน. วารสารศิลป์ พีระศรี, 6(1), หน้า 194-218.
วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ. (2553). ประติมากรรมกับพื้นที่สาธารณะ ความสัมพันธ์ของพื้นที่ ผู้คน ชุมชน และวัฒนธรรม. ใน ถนอมจิตร์ ชุ่มวงค์ (บ.ก.). โครงการติดตั้งประติมากรรมระหว่างกรุงเทพมหานครกับมหาวิทยาลัยศิลปากร (หน้า 162-166). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุชาติ เถาทอง. (2562). วิธีคิดทางศิลปะออกแบบขั้นสูง. ชลบุรี: บางแสนการพิมพ์.
อรรฆย์ ฟองสมุทร. (2551). ศิลปะสาธารณะ: สภาวการณ์ของเมืองกรุง. Executive Journal, 28(1), หน้า 100-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)