การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชา ในการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านสันต้นแฟน ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
หลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชา, การบริหารจัดการ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, บ้านสันต้นแฟน, จังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชาในการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านสันต้นแฟน ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบทด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจชุมชน บ้านสันต้นแฟน 2) ศึกษาการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านขั้นตอนการทรงงานตามศาสตร์พระราชาของชุมชนบ้านสันต้นแฟน และ 3) พัฒนาชุดความรู้การบริหารจัดการภูมิปัญญาตามศาสตร์พระราชาของชุมชน บ้านสันต้นแฟน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เป็นกรอบเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบริบทด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจชุมชน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านขั้นตอนการทรงงานตามศาสตร์พระราชาของชุมชนบ้านสันต้นแฟน ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาชุดความรู้การบริหารจัดการภูมิปัญญาตามศาสตร์พระราชาของชุมชนบ้านสันต้นแฟน ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาทั้ง 3 ขั้นตอน ของชุมชนบ้านสันต้นแฟน เป็นชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยน้อมนำเอาหลักการทรงงานมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น จนได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากอำเภอเมืองเชียงราย ให้เข้าโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562 ผู้วิจัยได้ถอดเป็นชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการการบริหารจัดการภูมิปัญญาตามศาสตร์พระราชา
References
เดชา ปุญญบาล. (2560). 9 ตามรอยบาท ศาสตร์พระราชา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(2), หน้า 13-19.
ระพีพันธ์ ศิริสัมพันธ์ และรชพรรณ ฆารพันธ์. (2565). การผลิตชุดความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสําหรับชุมชน : วิถีชีวิต วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารช่อพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 29(1), หน้า 453.
รัชนี โตอาจ. (2563). ความยั่งยืนของงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองบ้านเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นจาก http://wow.in.th/kFZW
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และสมชาย หิรัญกิตติ. (2545).องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2555).รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาและพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554).การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นจาก http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.php?ID=10506
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)