อรรถกถาพุทธวงศ์: การเล่าเรื่อง ในฐานะวรรณกรรมพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การเล่าเรื่อง, อรรถกถาพุทธวงศ์, วรรณกรรมพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีการใช้ความเปรียบใน อรรถกถาพุทธวงศ์ จำนวน 25 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า อรรถกถาพุทธวงศ์ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดลำดับเวลา 2 ประเภท มาใช้เล่าเรื่องในอรรถกถาพุทธวงศ์ ได้แก่ 1) การเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับลำดับเวลาในเรื่องเล่า พบว่า มีการเล่าเรื่องสลับไปมาระหว่างปัจจุบันกับอดีต และ 2) การเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับเวลาของผู้อ่าน พบว่า มีการใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อ แบบข้าม และการหยุด ส่วน กลวิธีการใช้ความเปรียบในอรรถกถาพุทธวงศ์ พบว่า อรรถกถาพุทธวงศ์ใช้กลวิธีความเปรียบ 3 ประเภท ได้แก่ การเปรียบเทียบโดยตรง การเปรียบเทียบโดยนัย และการเปรียบเทียบแบบผสม ความเปรียบ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยอธิบายเรื่องราวในอรรถกถาพุทธวงศ์ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจวิถีชีวิตการเป็นพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น
References
เกศนี นุชทองม่วง. (2556). อรรถกถาธรรมบท: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2517). พื้นฐานของการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่มที่ 9 ภาคที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุมาลี ลิ้มประเสริฐ. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง ความเปรียบเกี่ยวกับสุนัขและแมวในพระไตรปิฎก. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุสรา ศรีวิระ. (2558). อรรถกถาจริยาปิฎก : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิราวดี ไตลังคะ. (2546). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)