การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อผู้บกพร่องทางการได้ยิน จากอัตลักษณ์โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร เพ็ชรเรือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ผู้บกพร่องทางการได้ยิน, อัตลักษณ์, โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่องการสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อผู้บกพร่องทางการได้ยินจากอัตลักษณ์โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และสร้างสรรค์การแสดงจากอัตลักษณ์ของโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ โดยศึกษาข้อมูลทางด้านนอัตลักษณ์  ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ และภาษามือ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์  และสื่อสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ของโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ แบ่งได้เป็นอัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก รับรู้ผ่านการมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม และอัตลักษณ์ของนักเรียน พบจุดเด่นทางด้านลักษณะนิสัย ความสามารถ และการใช้ภาษามือ และ 2) การออกแบบสร้างสรรค์การแสดงได้สร้างสรรค์ขึ้น ทั้งสิ้น 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวคิดการแสดง ช่วงที่ 1 อัตลักษณ์ภายนอก ช่วงที่ 2 อัตลักษณ์ของนักเรียน  ช่วงที่ 3 ประโยชน์สุข (2) การคัดเลือกนักแสดง ใช้นักแสดงหญิงและชายที่มีทักษะนาฏศิลป์ไทยและเรียนรู้การใช้ภาษามือได้ (3) การออกแบบท่าทางทักษะนาฏศิลป์ไทย ภาษามือ ท่าทางในชีวิตประจำวัน และการเลียนแบบ (4) การออกแบบเพลง ใช้เครื่องดนตรีไทยผสมผสานกับเครื่องดนตรีตะวันตก และเสียงบรรยากาศจากธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องราวในแต่ละช่วงการแสดง (5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย นำอัตลักษณ์ภายนอก ประกอบไปด้วย สีและดอกไม้ประจำโรงเรียน สีของน้ำทะเลมาออกแบบเครื่องแต่งกาย (6) การออกแบบอุปกรณ์ เลือกใช้ดอกเหลืองปรีดียาธรและโคมไฟกะลามะพร้าวที่เป็นผลิตภัณฑ์ของนักเรียน และ (7) การออกแบบพื้นที่การแสดงใช้พื้นที่การแสดงทั้งแบบสมมาตรและอสมมาตร โดยเน้นที่จุดกึ่งกลางของพื้นที่การแสดง

References

ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2554). นาฏยศิลป์เพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). หลักสูตรการส่งเสริมศักยภาพผู้ดูแลคนพิการทางการได้ยินเฉพาะคนหูหนวกและคนหูตึง.

สุนันทา เกตุเหล็ก. (2561). การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ : ฉุยฉายธนบุรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(1), หน้า 69-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022