การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการสื่อสารและลักษณะภาษาที่ใช้ในสติกเกอร์ของแอปพลิเคชันไลน์

ผู้แต่ง

  • สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

วัตถุประสงค์การสื่อสาร, ลักษณะภาษา, สติกเกอร์ของแอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการสื่อสารและลักษณะของภาษาที่ใช้ในสติกเกอร์ของแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยสติกเกอร์ 38 แบบ 448 รูปภาพ ที่ให้ดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากบัญชีทางการในไลน์สโตร์ ช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า สติกเกอร์ไลน์มีทั้งแบบที่มีภาษาประกอบและไม่มีภาษาประกอบ พบวัตถุประสงค์การสื่อสาร 4 วัตถุประสงค์ คือ การแจ้งให้ทราบ การสร้างสัมพันธภาพ การชักจูงใจ และการสอบถามโดยถือว่าครอบคลุมการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านลักษณะภาษาที่ใช้ในสติกเกอร์ไลน์พบ 11 ลักษณะ ได้แก่ การใช้คำภาษาปกติ คำภาษาอังกฤษ คำสแลง คำเปลี่ยนแปลงตัวสะกด คำทับศัพท์ คำที่ใช้ตัวสะกดซ้ำ คำที่มีสองลักษณะร่วมกัน คำตัดพยางค์ คำภาษาถิ่น อักษรย่อ และคำภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์ และพรทิพย์ เย็นจะบก. (2547). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. สืบค้นจาก https://pirun.ku.ac.th

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 1(2), หน้า 75-88.

จอมขวัญ สุทธินนท์. (2563). เจตนาในการสื่อสารที่สะท้อนผ่านถ้อยคำในสติกเกอร์ไลน์ ภาษาไทยที่มีลักษณะเหนือหน่วยเสียงด้านทำนองเสียงที่มีลักษณะทำนองเสียงขึ้น. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 3(1), หน้า 46-67

ฉัตรชัย ใจแสน. (2555).ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นไทย. สืบค้นจาก http://sd-group2.blogspot.com/2012/12/53241776_11.html

ซารีณา นอรอเอ, นุรอัซวีตา จารง, ณฐพร มุสิกเจริญ และวรเวทย์พิสิษ ยศศิริ. (2561). ลักษณะการใช้ภาษาบนสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. (หน้า 940-952) สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). LINE ประเทศไทย ประกาศมีผู้ใช้งานครบ 50 ล้านราย ขึ้นแท่นอันดับ 1 แอปฯ ที่คนไทยชื่นชอบ. สืบค้นจาก. https://www.thairath.co.th/business/market/2186708

นิภาพรรณ โสพัฒน์. (2562). วิธีการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3) หน้า 23-30.

ประภาพิทย์ อินทรชัย. (2560). เคล็ดลับในการสื่อสารที่ดี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 11(1), หน้า 118-131.

เรวดี พานิช. (2559). พฤติกรรมออนไลน์ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(3), หน้า 79-93.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร, 33(4), หน้า 42-54.

สุจิตรา ประชามิ่ง, ณัฐวุฒิ พิมขาลี และนิธินาถ อุดมสันต์. (2561). การใช้ภาษาแชทในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), หน้า 80-89.

เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2562). การศึกษาแนวคิดและรูปแบบในการสร้างสติกเกอร์คาแร็กเตอร์เพื่อใช้ในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), หน้า 156-167.

LINE STORE. (2564). บัญชีทางการ หมวดหมู่ สติกเกอร์ฟรี. สืบค้นจาก https://store.line.me/officialaccount/event/th?from=home

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022